พระอาจารย์สุรศักดิ์ (เกิ้ง) สํวโร สำนักสงฆ์บ้านควนไม้บ้อง ต.วังอ่าง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช อายุ 32 ปี 12 พรรษา วิทยาฐานะ นักธรรมตรี พระผู้ทรงปาฎิโมกข์ จากสำนักเรียนวัดศรีธนู อ.เกาะพงัน จ.สุราษฏร์ธานี#เส้นทางเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัตร์พระอาจารย์ในฐานะของลูกชายที่จะต้องบวชเพื่อทดแทนคุณบิดามารดา และมีใจศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาได้บรรพชาอุปสมบท เมื่ออายุ 20 ปี ณ พัทธสีมาวัดสุขาสิทธาราม(ควนเถียะ) ต.นางหลง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช โดยมี พระครูสิทธิโสภณ(เพื่อม)วัดสุขาสิทธาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการโพยม ปัญญาวุโธ วัดทุ่งน้อย เป็นพระกรรมวาจาจารย์และพระสมพงษ์ อริโย วัดสุขาสิทธาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “สํวโร” แปลว่า ผู้สำรวม ท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดสุขาสิทธาราม ได้ 3 พรรษา หลังจากนั้นได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้ด้านกรรมฐานกับพระครูสันติรัตนคุณ (สุรินทร์) วัดรามแก้ว อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช และอยู่ปรนนิบัติดูแลพระอาจารย์เป็นเวลา 1 พรรษา และหลังจากนั้นก็ได้เดินทางกลับมาอยู่จำพรรษาที่วัดสุขาสิทธารามอีกตามเดิมเป็นเวลา 1 พรรษา และได้เดินทางไปอยู่จำพรรษาที่วัดควนมิตร อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นวัดใกล้บ้านจำนวน 1 พรรษา หลังจากนั้นชาวบ้านควนไม้บ้องก็ได้มานิมนต์ให้พระอาจารย์ไปสร้างวัดที่บ้านเกิดของตัวเอง ซึ่งตอนแรกก็ไปอยู่ที่พักสงฆ์เก่า ที่พระครูโชติปัญญาคุณ (บุญมาก ภาคใต้) วัดท่าเสม็ด อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช เคยสร้างไว้ และหลังจากนั้นนางนิยม เกิดสุวรรณ์ได้ถวายที่ดินเพื่อสร้างที่พักสงฆ์หลังใหม่จำนวน 3 ไร่และเพื่อให้มีพื้นที่สร้างวัดที่มากขึ้นพระอาจารย์ก็ได้หาทุนในการจัดซื้อที่ดินเท่าที่เห็นได้ในทุกวันนี้ ท่านก็ได้อยู่จำพรรษาที่นั้นตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
พระอาจารย์มีความรู้ความสามารถในการสวดพระปาฏิโมกข์ มีความชำนาญในการเขียนและอักขระขอมได้อย่างดี ตลอดทั้งความรู้และความชำนาญในสรรพวิชาต่าง ๆ ได้ช่วยเหลือบำบัดทุกข์ให้แก่ชาวบ้านตลอดมา ท่านได้ร่ำเรียนวิชาจากครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิเช่น
1.พระครูสันติรัตนคุณ(สุรินทร์)วัดรามแก้ว อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช
2.พระครูพิทักษ์อินทมุนี (สมนึก)วัดหรงบน อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
พระอาจารย์ได้เคารพนับถือและได้ขอคำปรึกษาในการสร้างวัตถุมงคลจากครูบาอาจารย์หลายท่านด้วยกัน
#ด้านการสร้างวัตถุมงคล
พระปิดตาเนื้อมหาว่าน “ปิดตาข้าวต้มมัด”
ตะกรุดไม้พยุงและไม้ขนุน ปลัดขลิกอุดผงว่าน พระเนื้อว่าน “แม่นางกวักทองมา” ตะกรุดจันทร์เพ็ญ
ผ้ายันต์มหายันต์ชุมแพ แผ่นจารยันต์แม่นางกวักทองมา พระโลหะรุ่นแรกแม่นางกวักทองมา เพื่อสร้างศาลาการเปรียญ
-ผ้ายันต์แม่นางกวักทองมา
-ผ้ายันต์พระแม่ธรณี เพื่อจัดซื้อที่ดินขยายวัด
-เบี้ยแก้
-ตะกรุดหนุมาน
-พระเนื้อว่านพ่อเฒ่าทิ้ง ชูศรีหรัญ
-ล็อกเก็ตรูปเหมือน
พระผงขุนแผน เพื่อสร้างโรงครัว
-สร้างพระเนื้อว่านแม่นางกวักทองมาหน้ากากทองคำ เงิน ทองเหลืองและทองแดง เพื่อสร้างโรงครัว
ปัจุบัน พ.ศ.2563 สร้างวัวธนูและพระพิฆเณศ เพื่อสร้างถนนคอนกรีตภายในวัด
นอกจากนี้ยังมีวัตถุมงคลอื่น ๆ ที่ได้จัดสร้างแจกจ่ายแก่ลูกศิษย์และผู้มีจิตศรัทธาอีกหลายอย่างเช่น เช่น ตะกรุดต่าง ๆ ,ผ้ายันต์ต่าง ๆ ,ลูกอมชานหมาก,สีผึ้ง,ปลัดขลิก,ภาพถ่าย,เชือกคาดเอว,เศียรพ่อแก่ และผ้าพาดบ่า เป็นต้นและนอกจากนี้ยังได้ร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลต่าง ๆ ของอีกหลาย ๆ วัด ตลอดมาภายในสถานที่ในพื้นที่เกือบ 10 ไร่ได้สร้างวัด รับพัฒนาที่ดินสร้างอาคารที่พักให้กลมกลืนกับธรรมชาติมีต้นไม้ร่มรื่น โดยเฉพาะสำนักของท่านพระอาจารย์เป็นลักษณะของท่อนไม้บ้องหรือเรียกว่าไม้ท่อนซุงขนาดใหญ่ พระอาจารย์ได้ออกแบบด้านในยังมีสัดส่วนสวยงาม เหมือนถ้ำ ทำให้กลมกลืนกับธรรมชาติต้นไม้ในส่วนของศาลาธรรม ได้ทำเป็นน้ำตกให้มีเสียงน้ำเป็นธรรมชาติ พุทธศาสนิกชนที่มาทำบุญจะรู้สึกร่มเย็นฟังเสียงน้ำตกหินธรรมชาติเสียงใบไม้ เหมาะกับทำสมาธิหรือฝึกจิต ด้านหน้าก็ทำเป็นน้ำตกพญานาคพระอาจารย์ ได้ทำ วัตถุมงคล และเครื่องราง ให้กับชาวบ้านได้ทำบุญ นำเงินปัจจัยมาพัฒนาสำนักสงฆ์ จนทำให้สำนักสงฆ์มีศาลาธรรม มีพื้นที่ในการพัฒนาสุขภาพปัจจุบันกำลังสร้างศูนย์อนามัยเพื่อให้ชุมชนได้มีสาธารณสุขที่ดี ปัจจุบันกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ก็หันมาสนใจในการเข้าวัดวัตถุมงคลเพื่อทำบุญ จัดซื้อที่ดินเพิ่มเติม อาณาเขตกว้างขวางขึ้นเป็น 10 ไร่ สำนักสงฆ์ควนไม้บ้องเป็นศูนย์รวมจิตใจและณรงค์เกี่ยวกับอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ พร้อมกับเสนอคณะสงฆ์ยกฐานะที่พักต้องเป็นสำนักสงฆ์และวัดในอนาคต นับว่าพระอาจารย์เป็นนักพัฒนาที่น่าจับตาเวลาแนะนำให้เที่ยว
Comment
Rate : / 5