ข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้งาน (Terms of Use)
1. การบังคับใช้และการยอมรับข้อตกลง
ข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้งานนี้ รวมถึงนโยบายใดๆ ที่อ้างอิงในข้อตกลงนี้ ซึ่งจะใช้บังคับกับท่าน เมื่อท่านเข้าถึง หรือใช้งานเว็บไซต์ของเรา https://mata-lumnam.com รวมถึง การใช้งานผ่านสื่อหรือช่องทางอื่นๆ แอพพลิเคชั่นบนมือถือ หรือการเข้าเว็บไซต์บนมือถือ (ซึ่งรวมกันเรียกว่า “แพลตฟอร์ม มาตะ ลุ่มน้ำ”) ที่กลุ่มผู้พัฒนา มาตะ ลุ่มน้ำ (ซึ่งรวมกันเรียกว่า “เรา”) เป็นเจ้าของหรือ เป็นผู้ดำเนินการ
เมื่อท่านเข้าใช้บริการนี้ ท่านต้องตกลงที่จะยอมรับและผูกพันข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้งาน และนโยบายต่างๆ ที่อยู่ในข้อตกลงเกี่ยวกับการใข้งานนี้ หากท่านไม่ตกลงกับข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้งานหรือนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เราขอให้ท่านยุติการใช้บริการของเรา
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของข้อตกลงการใช้งานนี้ คำว่า “เนื้อหา” หมายความรวมถึง ข้อมูล ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ ข้อความเสียง บทความ ความเห็น กราฟฟิก การโต้ตอบหรือสื่อสารใดๆ ที่ผ่านช่องทางแพลตฟอร์ม มาตะ ลุ่มน้ำ หรือที่เกี่ยข้องกับแพลตฟอร์ม มาตะ ลุ่มน้ำ
2. การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับข้อตกลงการใช้งานนี้
เราขอสงวนสิทธิในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทั้งหมดหรือบางส่วนของข้อตกลงการใช้งานฉบับนี้ (รวมถึงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) ไม่ว่าในเวลาใดๆ โดยจะประกาศข้อตกลงการใช้งานฉบับแก้ไขล่าสุดในแพลตฟอร์ม มาตะ ลุ่มน้ำ ซึ่งท่านควรเข้า https://mata-lumnam.com เพื่อตรวจสอบข้อตกลงการใช้งานฉบับปัจจุบัน ซึ่งถ้าหากท่านยังคงใช้แพลตฟอร์ม มาตะ ลุ่มน้ำของเราอยู่ต่อไป เราจะถือว่าท่านยอมรับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น
3. นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ในการเข้าถึงหรือใช้บริการดิจิทัล เราอาจจะเก็บข้อมูลของจากท่านหรือเกี่ยวกับท่าน ซึ่งเราจะใช้ข้อมูลของท่านให้สอดคล้องกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โปรดสละเวลาสักครู่เพื่ออ่านนโยบายความเป็นส่วนตัวของเราที่ https://pdpa.pro/policies/view/th/2Foe2zWT5Ye5m1PtZSWHiYdR นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงการใช้งานนี้
4. สิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญาและทรัพย์สินอื่น ๆ
ท่านรับทราบและตกลงว่า แพลตฟอร์ม มาตะ ลุ่มน้ำและเนื้อหาใดๆ ที่สร้างโดยเราและได้เผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์ม มาตะ ลุ่มน้ำนี้ ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ สิทธิบัตร ความลับทางการค้า และสิทธิอื่นใดตามกฎหมาย และเรา (และผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิ) ยังคงเป็นเจ้าของสิทธิ์ กรรมสิทธิ์ และประโยชน์ทั้งหมดในแพลตฟอร์ม มาตะ ลุ่มน้ำ (รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา)
ท่านต้องไม่ ขาย อนุญาต ให้เช่า แก้ไข จำหน่าย คัดลอก ทำซ้ำ โอน เปิดเผยต่อสารธารณะ เผยแพร่ ปรับปรุง แก้ไข หรือ ดัดแปลง แพลตฟอร์ม มาตะ ลุ่มน้ำ เนื้อหาใดๆ บนแพลตฟอร์ม มาตะ ลุ่มน้ำนี้
5. การปฏิเสธความรับผิด
แพลตฟอร์ม มาตะ ลุ่มน้ำถูกจัดให้ตามสภาพของเทคโนโลยีและข้อมูลที่มีและเป็นอยู่ในปัจจุบัน และเรา (และผู้ให้บริการของเรา) ขอปฏิเสธความรับผิดใดๆ ที่เกิดจากคำรับรองหรือเงื่อนไขใดๆ ไม่ว่าจะแสดงออกโดยชัดแจ้งหรือปริยาย รวมถึงการรับประกันหรือเงื่อนไขของความเหมาะสม ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง หรือ การไม่ละเมิดของแพลตฟอร์ม มาตะ ลุ่มน้ำ และเราไม่รับประกันว่าแพลตฟอร์ม มาตะ ลุ่มน้ำของเรา (ก) จะตอบสนองตรงตามความต้องการของคุณ (ข) จะพร้อมใช้งานโดยไม่มีการรบกวน หรือปลอดภัยหรือปราศจากข้อผิดพลาด (ค) จะถูกต้อง ปราศจากไวรัส หรือ อันตรายอื่นใดๆ
เนื่องจากธธรรมชาติของอินเตอร์เน็ตเราไม่สามารถรับรองได้ว่าข้อมูลที่ส่งระหว่างกันผ่านอินเตอร์เน็ต หรือขณะที่จัดเก็บในระบบเก็บข้อมูลของเรารือในระบบอื่นใดที่อยู่ในความดูแลของเราจะปลอดภัยจากการแทรกแซงโดยผู้อื่น
ท่านตกลงว่าเราไม่ต้องรับผิด ในกรณีมีข้อผิดพลาด การแทรกแซง การทำลาย ชำรุดบกพร่อง หรือ ความล่าช้าในการดำเนินการหรือส่งข้อมูล หรือความผิดพลาดในฮาร์ดแวร์หรือระบบเครือข่าย การโจรกรรมหรือการทำลาย หรือการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการเปลี่ยนแปลงในเนื้อหาใดๆ ทั้งนี้ ท่านเข้าใจและตกลงว่าหากท่านดาวน์โหลดข้อมูลหรือเอกสารใดๆ ท่านจะยอมรับความเสี่ยงนั้นแต่เพียงผู้เดียว เราจะไม่รับประกันและไม่รับรองการใช้หรือผลของการใช้งาน ข้อมูล แพลตฟอร์ม มาตะ ลุ่มน้ำ หรือเนื้อหาอื่นใดบนแพลตฟอร์ม มาตะ ลุ่มน้ำ หรือ แพลตฟอร์มออนไลน์อื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม มาตะ ลุ่มน้ำในเรื่องของอความแท้จริง ถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรืออื่นๆ
6. การชดใช้ค่าเสียหาย
ท่านตกลงที่จะชดใช้ค่าเสียหายให้กับเรา (และรวมถึง พนักงานของเรา กรรมการ คู่สัญญา และตัวแทนของเรานั้นๆ ) รวมถึงค่าใช้จ่ายและค่าทนายความตามสมควร ที่เกิดจ้างการเรียกร้องใดๆ จากบุคคลที่สาม เนื่องจากหรือที่เกิดจาก (ก) การใช้แพลตฟอร์ม มาตะ ลุ่มน้ำหรือเนื้อหา (ข) เนื้อหาของท่าน (ค) เกิดจากการละเมิดข้อตกลงการใช้นี้ (ง) การละเมิดทางกฎหมายหรือระเบียบบังคับใดๆ
เราขอสงวนสิทธิในป้องกันและควบคุมเรื่องใดๆ ในกรณีที่ท่านต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อเรา และท่านตกลงร่วมมือกับเราเพื่อป้องกันข้อเรียกร้องนั้นโดยท่านเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ในกรณีเช่นว่านี้คุณตกลงที่จะไม่ยุติคดีโดยปราศจากความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากเราก่อน เราจะใช้ความพยายามตามสมควรเพื่อที่จะแจ้งท่านเมื่อมีข้อเรียกร้อง การกระทำ หรือกระบวนการใดๆ เมื่อเราได้ทราบถึงเหตุนั้น
7. กฎหมายที่ใช้บังคับ
ข้อตกลงการใช้งานนี้บังคับและตีความภายใต้บังคับตามกฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทยเท่านั้น ข้อพิพาท ข้อเรียกร้องหรือการกระทำใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากหรือเกี่ยวข้องกับข้อกำหนดการใช้งานหรือการใช้บริการดิจิทัลหรือเนื้อหาใดๆ จะอยู่ภายใต้ศาลที่มีอำนาจในประเทศไทยเท่านั้น
8. ความถูกต้องของข้อมูลของคุณ
ข้อมูลใดๆ ที่ท่านให้แก่เราผ่านช่องทางแพลตฟอร์ม มาตะ ลุ่มน้ำ รวมถึงในส่วนของข้อมูลบัญชีผู้ใช้ ข้อมูลการเล่นกิจกรรมในแพลตฟอร์ม มาตะ ลุ่มน้ำจะต้องจริงแท้ ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน และท่านจะรับผิดชอบในการดูแลรักษาความถูกต้องของข้อมูลนั้น
หากเรามีเหตุควรเชื่อว่าข้อมูลของคุณไม่เป็นความจริง ไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นปัจจุบัน เรามีสิทธิที่จะยุติระงับหรือปฏิเสธไม่ให้คุณเข้าถึงบริการของเราได้
9. การให้บริการของบุคคลที่สาม
แพลตฟอร์ม มาตะ ลุ่มน้ำอาจระบุช่องทางที่เชื่อมต่อเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น หรือบริการอื่นใดของบุคคลที่สาม (เช่น แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย) และโฆษณาของบุคคลที่สาม (รวมกันเรียกว่า “การให้บริการของบุคคลที่สาม”) และการให้บริการของบุคคลที่สามนี้ ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของเราและเราจะไม่รับผิดชอบใดๆ กับการให้บริการของบุคคลที่สาม
ทั้งนี้ เราขอแจ้งว่าเราไม่ได้ตรวจสอบ อนุมัติ หรือ รับรองใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการของบุคคลที่ 3
10. ติดต่อเรา
หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อตกลงการใช้งานนี้ สามารถติดต่อเราได้ที่อีเมล matalumnam@gmail.com
ลุ่มน้ำทะเลสาบของประเทศไทย เป็นทะเลสาบแบบลากูน (Lagoonal Lake) หนึ่งเดียวของประเทศไทย และเป็น 1 ใน 117 แหล่งทั่วโลก ซึ่งเป็นแหล่งน้ำตื้นที่พบในบริเวณชายฝั่งทะเลที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์ตลอดเวลา มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,000 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำกว้างใหญ่เป็นท้องทุ่งทะเลสาบ ที่มีอยู่เพียงแห่งเดียวของประเทศไทย ที่มีเส้นน้ำไหลจากเทือกเขานครศรีธรรมราชที่อยู่ทิศตะวันตก และเทือกเขาสันการาคีรีที่อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้เกิดปรากฎการณ์ทางน้ำเล็กใหญ่ไหลหลากหลั่งลงสู่ทิศตะวันออกเป็นทะเลเค็มเป็นฝั่งอ่าวไทยเข้ามาผสมผสานตามฤดูกาลเป็นทะเลสาบที่แบ่งเป็นทะเลล่าง ทะเลหลวง และทะเลน้อย จากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลทำให้เกิดน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม จึงเรียกกันว่าทะเลสาบสามน้ำประกอบด้วย น้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย จากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ สู่การสร้างอารยธรรมที่มีความยิ่งใหญ่ของการสร้างคน สร้างเมือง โดยพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์มายาวนานไม่น้อย 6,000 ปี โดยมีชุมชนอาศัยในบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบเป็นเวลานานก่อนสมัยอยุธยา และมีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ เนื่องจากเป็นพื้นที่มีลักษณะเป็นเมืองท่า พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบประกอบด้วยเขตจังหวัดสงขลา 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอหาดใหญ่ อำเภอสะเดา อำเภอรัตภูมิ อำเภอควนเนียง อำเภอสิงหนคร อำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม อำเภอบางกล่ำ อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดพัทลุง 11 อำเภอหรือทั้งจังหวัด ได้แก่ อำเภอปากพะยูน อำเภอป่าบอน อำเภอตะโหมด อำเภอบางแก้ว อำเภอเขาชัยสน อำเภอเมือง อำเภอศรีบรรพต อำเภอกงหรา อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอควนขนุน อำเภอป่าพะยอม และจังหวัดนครศรีธรรมราช 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชะอวด และหัวไทร ซึ่งทั้ง 3 จังหวัดมีการเชื่อมต่อกันทั้งพื้นที่ วัฒนธรรม ประเพณี และวิธีชีวิตของคนพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบเป็นเมืองแห่งพหุวัฒนธรรม และแหล่งอารยวัฒนธรรมที่สะท้อนให้เห็นจากวิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำทะเลสาบและศิลปะเลิศล้ำ งานศิลปะในลุ่มน้ำทะเลสาบจึงมีลักษณะของการร่วมวัฒนธรรมมีเอกลักษณ์ที่งดงาม ทั้งโบถ์ วิหาร อาคาร บ้านเรือน รวมถึงสินค้าท้องถิ่นที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ลุ่มน้ำ
ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ในสมัยก่อนถ้าย้อนไปหาอดีตก่อนสมัยอยุธยา ชุมชนบริเวณทะเลสาบสงขลา มีลักษณะเป็นเมืองท่าที่ ติดต่อค้าขายกับต่างชาติมากกว่าที่จะเป็นลักษณะของชุมชนเกษตรกรรม เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะในสมัยนั้นผู้คน มีน้อย และไม่เดือดร้อนในเรื่องข้าวปลาอาหารมากนัก ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ จึงเข้าใจว่าสังคมเกษตรกรรมอาจจะยังไม่เด่นชัด แต่ในสมัยอยุธยาเป็นต้นมา ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ขึ้นทั่วไปรอบทะเลสาบ ซึ่งมีพอให้เกิดการขยายตัวของชุมชนอย่างต่อเนื่อง ชาวนาที่ยึดมั่นอยู่กับค่านิยม รวมทั้งไสยศาสตร์ และประเพณีวัฒนธรรม กลายเป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่บริเวณนี้ และชาวนาก็จะอยู่ใน ลักษณะของไพร่ และข้าพระ ซึ่งไพร่นับเป็นชาวนากลุ่มใหญ่ ที่มีความจำเป็นต้องขึ้นอยู่กับขุนนาง หรือนาย ส่วนข้าพระหรือแลกวัดเป็นกลุ่มคนที่ทางพระมหากษัตริย์ได้อุทิศกัลปนาให้เป็นสมบัติของพระสงฆ์ชาวนาที่ เป็นข้าพระ หรือแลกวัดนี้จะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสถาบันสงฆ์ ที่กล่าวมานี้ก็เป็นลักษณะสถานะทางสังคมของผู้คนในสมัยนั้น อย่างไรก็ตามลุ่มน้ำทะเลสาบแห่งนี้ ไม่มีความปลอดภัยและมั่นคงสักเท่าไหร่ในชีวิตความเป็นอยู่ โดยเฉพาะสาเหตุมาจากการรุกรานของโจรสลัด และต้องประสบกับการรุกรานของเพื่อนบ้านอยู่เป็นประจำ ส่วนในลักษณะของสังคมปัจจุบันของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีหลาย ๆ สิ่ง หลาย ๆ อย่างเปลี่ยนแปลง ไปสังคมไพร่และข้าพระกลายมาเป็นสังคมเกษตรกรรมที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทัศนคติ ค่านิยม ไสยศาสตร์ ประเพณีและวัฒนธรรม เปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยมากขึ้นโดยเฉพาะการได้รับอิทธิพลมาจากสังคม ภายนอก เช่น สังคมจากต่างประเทศเป็นต้น สังคมที่เคยเกื้อกลพึ่งพา กลายมาเป็นสังคมของการแข่งขัน และ ชิงดีชิงเด่น ปัจจุบันองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน องค์การมหาชน หรือ อพท. ได้ทำการศึกษาข้อมูลครอบคลุมทุกด้าน ในการประกาศเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อพท.ยังมีแผนพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ด้วยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการร่วมคิดร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับผลประโยชน์ และร่วมเป็นเจ้าของ เพื่อให้พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบเป็นพื้นที่ศักยภาพทางการท่องเที่ยวที่สำคัญและมีความเหมาะสมอย่างยิ่งในการประกาศเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ด้วยการสะท้อนวิถีชีวิตแห่งลุ่มน้ำทะเลสาบต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนผ่าน 5 เส้นทางท่องเที่ยว 1. เส้นทางเชิงท่องเที่ยวลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 2. เส้นทางท่องเที่ยววิถีโหนด-นา-เล 3. เส้นทางท่องเที่ยววิถีชีวิตทะเลสาบสงขลา 4. เส้นทางท่องเที่ยวตามรอยหลวงพ่อทวด 5. เส้นทางท่องเที่ยวโนรา มรดกภูมิปัญญาไทย มรดกวัฒนธรรมโลก
ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ในสมัยก่อนถ้าย้อนไปหาอดีตก่อนสมัยอยุธยา ชุมชนบริเวณทะเลสาบสงขลา มีลักษณะเป็นเมืองท่าที่ ติดต่อค้าขายกับต่างชาติมากกว่าที่จะเป็นลักษณะของชุมชนเกษตรกรรม เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะในสมัยนั้นผู้คน มีน้อย และไม่เดือดร้อนในเรื่องข้าวปลาอาหารมากนัก ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ จึงเข้าใจว่าสังคมเกษตรกรรมอาจจะยังไม่เด่นชัด แต่ในสมัยอยุธยาเป็นต้นมา ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ขึ้นทั่วไปรอบทะเลสาบ ซึ่งมีพอให้เกิดการขยายตัวของชุมชนอย่างต่อเนื่อง ชาวนาที่ยึดมั่นอยู่กับค่านิยม รวมทั้งไสยศาสตร์ และประเพณีวัฒนธรรม กลายเป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่บริเวณนี้ และชาวนาก็จะอยู่ใน ลักษณะของไพร่ และข้าพระ ซึ่งไพร่นับเป็นชาวนากลุ่มใหญ่ ที่มีความจำเป็นต้องขึ้นอยู่กับขุนนาง หรือนาย ส่วนข้าพระหรือแลกวัดเป็นกลุ่มคนที่ทางพระมหากษัตริย์ได้อุทิศกัลปนาให้เป็นสมบัติของพระสงฆ์ชาวนาที่ เป็นข้าพระ หรือแลกวัดนี้จะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสถาบันสงฆ์ ที่กล่าวมานี้ก็เป็นลักษณะสถานะทางสังคมของผู้คนในสมัยนั้น อย่างไรก็ตามลุ่มน้ำทะเลสาบแห่งนี้ ไม่มีความปลอดภัยและมั่นคงสักเท่าไหร่ในชีวิตความเป็นอยู่ โดยเฉพาะสาเหตุมาจากการรุกรานของโจรสลัด และต้องประสบกับการรุกรานของเพื่อนบ้านอยู่เป็นประจำ ส่วนในลักษณะของสังคมปัจจุบันของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีหลาย ๆ สิ่ง หลาย ๆ อย่างเปลี่ยนแปลง ไปสังคมไพร่และข้าพระกลายมาเป็นสังคมเกษตรกรรมที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทัศนคติ ค่านิยม ไสยศาสตร์ ประเพณีและวัฒนธรรม เปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยมากขึ้นโดยเฉพาะการได้รับอิทธิพลมาจากสังคม ภายนอก เช่น สังคมจากต่างประเทศเป็นต้น สังคมที่เคยเกื้อกลพึ่งพา กลายมาเป็นสังคมของการแข่งขัน และ ชิงดีชิงเด่น ปัจจุบันองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน องค์การมหาชน หรือ อพท. ได้ทำการศึกษาข้อมูลครอบคลุมทุกด้าน ในการประกาศเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อพท.ยังมีแผนพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ด้วยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการร่วมคิดร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับผลประโยชน์ และร่วมเป็นเจ้าของ เพื่อให้พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบเป็นพื้นที่ศักยภาพทางการท่องเที่ยวที่สำคัญและมีความเหมาะสมอย่างยิ่งในการประกาศเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ด้วยการสะท้อนวิถีชีวิตแห่งลุ่มน้ำทะเลสาบต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนผ่าน 5 เส้นทางท่องเที่ยว 1. เส้นทางเชิงท่องเที่ยวลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 2. เส้นทางท่องเที่ยววิถีโหนด-นา-เล 3. เส้นทางท่องเที่ยววิถีชีวิตทะเลสาบสงขลา 4. เส้นทางท่องเที่ยวตามรอยหลวงพ่อทวด 5. เส้นทางท่องเที่ยวโนรา มรดกภูมิปัญญาไทย มรดกวัฒนธรรมโลก
ประเพณีทำบุญว่าง ประเพณีทำบุญว่าง เป็นประเพณีประจำปีที่กระทำสืบทอดกันมาแต่โบราณในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบ ซึ่งจะกระทำกันตรงกับช่วงเทศกาลประเพณีสงกรานต์ที่กระทำกันทั่วไปในประเทศไทย อย่างไรก็ตามประเพณี ทำบุญว่างที่กระทำกันในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเรียกประเพณีนี้ว่า “วันทำบุญว่าง” ซึ่งในแต่ละชุมชนอาจ มีการกำหนดวันทำบุญวันว่างแตกต่างกันไป คือ อาจไม่ตรงวันกัน เช่น ในพื้นที่ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา จะกำหนดวันทำบุญว่างไม่ตรงกันในแต่ละวัด ซึ่งการทำบุญวันว่างดังกล่าวนี้ จะกำหนดกระทำกันในวัดประจำ หมู่บ้าน ซึ่งพิธีกรรมโดยภาพรวมของชุมชนจะเริ่มจากก่อนถึงวันดังกล่าว จะมีการทำความสะอาดบ้านเรือน และที่เก็บกระดูกของบรรพบุรุษ มีการนิมนต์พระสงฆ์ไปประกอบพิธีตามบ้านเรือนของคนในชุมชนโดยนำ กระดูกหรือสัญลักษณ์ของบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วมาเป็นสื่อรำลึก ส่วนพิธีกรรมของพระสงฆ์ก็จะเป็นการ สวดบทมาติกา เมื่อทำพิธีทำภัตกิจเสร็จก็จะกล่าวบทสัมโมทนียกถา ลูกหลานในครอบครัวนั้นก็จะกรวดน้ำ อุทิศส่วนบุญกุศลให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นอันเสร็จพิธี บ้านเรือนต่าง ๆ ในชุมชนก็จะกระทำกันทั่วไปขึ้นอยู่ กับทุนทรัพย์ของแต่ละครอบครับ เมื่อถึงวันทำบุญว่าง ก็จะนำอาหารคาวหวานไปยังวัด แล้วทำพิธีร่วมกัน ทำบุญใส่บาตรพระร่วมกัน หลังจากนั้นพระสงฆ์ก็จะทำพิธีสวดบทมาติกา ชาวบ้านร่วมกันถวายเครื่องไทยธรรม กรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว จากนั้นจึงร่วมกันถวายอาหารแก่พระสงฆ์ เมื่อเสร็จพิธีช่วงเช้าแล้ว ในช่วงบ่าย ชาวบ้านจะร่วมกันสรงน้ำพระสงฆ์ และรดน้ำดําหัวผู้สูงอายุ เด็ก ๆ คน หนุ่มสาวก็จะเล่นสาดน้ำกันอย่างสนุกสนาน เมื่อผ่านช่วงสนุกสนานไปก็จะเป็นพิธีการทำบุญแยกกันไปตามแต่ ละครอบครัวซึ่งจะใช้ที่เก็บกระดูกของบรรพบุรุษของตนเองที่คนในลุ่มน้ำทะเลสาบเรียก “บัว” ซึ่งหมายถึงที่ เก็บกระดูกของสายตระกูลต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์สำคัญในการทำบุญกุศลเพื่ออุทิศไปให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นอันเสร็จพิธีในประเพณีทำบุญว่าง
การละเล่นพื้นเมือง กีฬาและนันทนาการ มีนักวิชาการชาวภาคใต้คนสำคัญทกล่าวถึงความหมาย ของการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้พอที่จะนำมาศึกษาและใช้เป็นกรอบคิดเพื่อวิเคราะห์ คุณค่าและมูลค่าแก่สังคมในชุมชนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาได้ ดังนี้ วิเชียร ณ นคร ได้ให้ความหมายการละเล่นพื้นบ้านไว้ว่า “การทำกิจกรรมของคนทั้งในสถานที่ กลางแจ้งและในสถานที่ร่ม เพื่อความสนกรื่นเริง บันเทิง ตลอดจนเพื่อการกีฬาและพิธีกรรมต่าง ๆ ได้แบ่ง การละเล่นพื้นบ้านออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1.การละเล่นเพื่อพิธีกรรม เช่น กาหลอ สวดมาลัย โต๊ะครึม (โนราลงครู) เป็นต้น 2.การละเล่นเพื่อความสนุกรื่นเริง เช่น หนังตะลุง มะโย่ง เพลงนา โนรา เป็นต้น 3.การละเล่นด้านกีฬาและนันทนาการ เช่น ชนวัว ชนไก่ มวย สะบ้า เป็นต้น อุดม หนูทอง ได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญของการละเล่นพื้นบ้าน โดยสรูปได้ ดังนี้ - การละเล่นพื้นบ้านเป็นมรดกร่วมกันของกลุ่มชาวบ้าน โดยชาวบ้าน และเพื่อชาวบ้าน นั้นคือ ชาวบ้านเป็นต้นคิด เป็นผู้เล่น เป็นผู้สืบทอด เพื่อสนองความต้องการของชาวบ้านเป็นหลัก - การละเล่นพื้นบ้านไม่ปรากฏผู้เป็นต้นคิด ถ่ายทอดโดยการบอกเล่าการเรียนแบบ ดํารงอยู่ด้วย การจดจำและปฏิบัติต่อ ๆ กันมา - การละเล่นพื้นบ้านมีความเรียบง่ายตรงไปตรงมา มีความสอดคล้องกับพื้นฐานการดํารงชีพและความรู้สึกนึกคิดของชาวบ้าน - การละเล่นพื้นบ้านใช้ภาษาถิ่น ฉันทลักษณ์ ท่วงทำนอง ลีลาของเฉพาะท้องถิ่นเป็นรูปแบบใน การแสดงออก - การละเล่นพื้นบ้านย่อมมีการเปลี่ยนแปลงประสมประสานกับดนตรีและการละเล่นของชนกลุ่มอื่น ๆ ตลอดจนวัฒนธรรมอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องแต่ตราบใดที่ตนตรีและการละเล่นพื้นบ้านนั้น ยังคงรักษาเอกลักษณ์ไว้ได้ก็ยังถือว่าดนตรีและการละเล่นเป็นมรดกวัฒนธรรมพื้นบ้านของกลุ่มชนนั้น สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ได้จำแนกและอธิบายการละเล่นพื้นบ้านไว้สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้ - หนังตะลุง เป็นการแสดงประเภทเล่าเรื่องด้วยการเชิดรูปเล่นเงา เล่าเรื่องด้วยบทเจรจา บท บรรยาย และใช้บทกลอนประกอบ - โนรา หรือมโนห์รา เป็นการแสดงเป็นคณะเน้นการรําและการอวดบทกลอน แสดงปฏิภาณ กลอนสดและมีการเล่นเฉพาะอย่าง - เพลงบอก เป็นการแสดงบทกลอนโดยมีฉันทลักษณ์ ใช้ไหวพริบแก้คําอวดคารมกัน ไม่มีการรํา หรือการแสดงประกอบ - ลิเกป่า มีชื่อเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่น ลิเกบก ลิเกแขกแดง มีการร้องรําและแสดงท่าทางตาม เนื้อเรื่องคล้ายลิเกหรือละคร - สิละ เป็นการแสดงท่าต่อสู้มือเปล่า หรือต่อสู้ด้วยกริชตามแบบศิลปะมลายู กระจกเงา - กาหลอ เป็นการแสดงดนตรีล้วน นิยมแสดงในงานศพ - สวดมาลัย เป็นการสวดประกอบทำนองแบบสวดคฤหัสถ์ของภาคกลาง มีการออกท่าประกอบ - หนังตะลุงคน หรือ หนังโขน เป็นการแสดงเลียนแบบหนังตะลุงแต่ใช้คนจริงแสดงแทนรูปหนัง ตะลุง ไม่ต้องใช้จอ ตัวแสดงแต่ละตัวร้องบทและเจรจาเอง ส่วนใหญ่ผู้แสดงจึงต้องเป็นคนที่เชิดหนังตะลุงเป็น - โนราหอย เป็นการแสดงจำลองแบบโนรา แต่การแต่งกายทำอย่างง่าย ๆ จากเปลือกหอยหรือ ใบไม้ เครื่องดนตรีก็ใช้อย่างง่าย ๆ ไม่มีพิธีรีตองในการแสดง - โต๊ะครีมหรือนายมนต์ หรือลิมน เป็นการแสดงดนตรีประกอบคําบูชาครูหมอตายาย หรือ วิญญาณบรรพบุรุษ - คําตัก คือการขับร้องเป็นบทกลอนเพื่อตักเตือนเจ้านาค จะต้องเป็นนาคที่บวชเป็นครั้งแรก มีการ ขับร้องทั้งตอนที่อยู่ที่บ้านอยู่ในวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนนำเจ้านาคเวียนรอบโบสถ์มีแม่เพลงและลุกคู่รับ - วายังเซียม หรือหนังตะลุงสยาม เป็นการแสดงหนังตะลุงแบบไทยภาคใต้แต่คนแสดงเป็นชาวไทย มุสลิม - เพลงนา เป็นการเล่นกลอนโต้ตอบแก้คารมกันระหว่างชาย-หญิงจะนิยมเล่นกันในท้องนา - เพลงเรือ เป็นการละเล่นขับบทกลอนประกอบการพายเรือ ในเทศกาลชักพระ หรืองานกฐิน คล้ายกับการเห่เรือแต่ละลํามีแม่เพลงประจำลํา พายเรือเทียบเคียงเล่นกลอนโต้ตอบกัน จ. - มหาชาติทรงเครื่อง เป็นการแสดงลิเกแบบพื้นเมืองเรื่องมหาเวสสันดรชาดกสลับการเทศน์ มหาชาติ1 การให้ความหมาย แบ่งประเภทและรูปแบบการละเล่นตามกรอบแนวคิดนี้ แสดงให้เห็น พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงการละเล่น จากอดีตที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากความสนุกสนานแล้ว ยังมีมิติ ของการนำมาสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาสายพันธ์ เช่น การชนวัว ชนไก่ กัดปลา นอกจากนั้น กรอบแนวคิดนี้ยัง แสดงให้เห็นว่า กาลละเล่นในภาคใต้ ร่วมถึงในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนในลุ่มน้ำ และที่สำคัญการละเล่นหลายอย่างยังมีบทบาทสร้างกระบวนทัศน์ที่กำหนดความสัมพันธ์ของผู้คนลุ่มนำหลาย ระดับ ทั้งคนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับลังที่อยู่เหนือธรรมชาติ มุมมองด้านนี้การละเล่นอาจไม่มี เป้าหมายโดยตรงเท่ากับเพื่อความสนุกรื่นเริง แต่กลับปรากฏอยู่อย่างน่าสนใจ
จังหวัดสงขลา
จังหวัดสงขลา ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของภาคใต้ตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพมหาน ประมาณ 7,393.889 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,621,180 ไร่ มีขนาดพื้นที่มากเป็นลําดับที่ 27 ของประเทศ ที่ตั้งของจังหวัดตั้งอยู่ประมาณละติจูดที่ ที่ 6 17-7 56 องศาเหนือ ลองจิจูด 100 01-101 06 องศาตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดพัทลุง
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี รัฐเคดาร์ และรัฐเปอร์ลิสของประเทศมาเลเซีย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดพัทลุง และจังหวัดสตูล
จังหวัดพัทลุง
จังหวัดพัทลุง ตั้งอยู่ทิศฝั่งตะวันออกของภาคใต้ ห่างจากกรุงเทพมหานคร 856 กิโลเมตร มีเนื้อที่ ประมาณ 3,424 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 2,140,296 ไร่ ที่ตั้งของจังหวัดตั้งอยู่ประมาณละติจูดที่ 7 องศา 6 ลิปดาเหนือ ถึง 7 องศา 53 ลิปดาเหนือ และลองจิจูดที่ 99 องศา 44 ลิปดาตะวันออก ถึง 100 องศา 26 ลิปดาตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอชะอวด อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา และอำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ทิศตะวันออก ติดต่อกับทะเลสาบพัทลุง-สงขลา ซึ่งเป็นน่านน้ำติดต่อกับอำเภอระโนด อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสทิงพระ และอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันตก ติดเทือกเขาบรรทัด ซึ่งเป็นแนวติดต่อกับอำเภอหัวยอด อำเภอเมือง อำเภอนาโยง อำเภอย่านตาขาว และอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
จังหวัดนครศรีธรรมราช
จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ทางตอนกลางของภาคใต้ ห่างจากกรุงเทพมหานคร 780 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 9,942.502 ตร.กม หรือประมาณ 6,214,064 ไร่ มีพื้นที่มากเป็นลําดับที่ 16 ของประเทศ ตั้งอยู่ประมาณละติจูดที่ 9 องศาเหนือ และ ลองจิจูด 10 องศาตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัด ใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง จังหวัดตรัง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทยเป็นชายฝั่งทะเล มีความยาวประมาณ 225 กิโลเมตร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดกระบี่
ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ตั้งอยู่บนชายฝั่งด้านตะวันออกของภาคใต้ มีเนื้อที่ 9,807 ตร.กม. (6,129,375 ไร่) แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นพื้นดินมีเนื้อที่ประมาณ 8,761 ตร.กม. และส่วนที่เป็นพื้นน้ำมีพื้นที่ ประมาณ 1,046 ตร.กม. มีความกว้างจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกประมาณ 20 กม. ส่วนความยาวจาก ทิศเหนือไปทิศใต้ประมาณ 75 กม. ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา คือ อำเภอเมือง อำเภอหาดใหญ่ อำเภอสะเดา อำเภอรัตภูมิ อำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ อำเภอควนเนียง อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม อำเภอบางกล่ำ อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดพัทลุงทั้งหมด และจังหวัดนครศรีธรรมราช คือ อำเภอชะอวด และอำเภอหัวไทร
ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่ออำเภอปากพนัง อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ทิศใต้ ติดต่อประเทศมาเลเซีย
ทิศตะวันออก ติดต่ออำเภอจะนะ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา และทะเลอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดต่อเทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล
ทางตะวันออกเป็นที่ราบชายฝั่งทะเลติดกับอ่าวไทย ทิศตะวันตกของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มี เทือกเขาบรรทัดเป็นสันปันน้ำ ทอดตัวยาวในแนวเหนือ-ใต้ ความสูงเฉลี่ยประมาณ 1,200 เมตร จาก ระดับน้ำทะเลปานกลาง (Mean sea level) ลดระดับลงไปทางทิศตะวันออกจนจรดทะเลสาบ
จังหวัดสงขลา
ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดสงขลา แบ่งออกได้เป็น 3 บริเวณ คือ
1.บริเวณทะเลสาบสงขลา ทางทิศเหนือที่อำเภอสทิงพระและอำเภอระโนดเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่ การทำนาและพืชพันธุ์อื่น ๆ
2. บริเวณทะเลนอก พื้นที่เป็นที่ราบเหมาะแก่การปลูกมะพร้าวและต้นสน พื้นที่ซึ่งหางจากทะเลไป เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนา อันได้แก่ บนพื้นที่อำเภอสทิงพระ อำเภอระโนด อำเภอเมือง อำเภอเทพา และอำเภอจะนะ
3.บริเวณที่ประกอบด้วยเนินและภูเขา พื้นที่เป็นดินเหนียวปนทรายและลูกรัง มีลําน้ำไหลผ่าน หลายสาย มีป่าไม้ซึ่งใช้ในการปลูกสร้างบ้าน ยางพารา มีการปลูกผลไม้เป็นแห่ง ๆ บริเวณดังกล่าวได้แก่ อำเภอหาดใหญ่ อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอรัตภูมิ อำเภอนาทวี และอำเภอสะบายอย
จังหวัดพัทลุง
ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดสงขลา แบ่งออกได้เป็น 4 บริเวณ คือ
1.พื้นที่ภูเขา มีลักษณะเป็นเทือกเขาที่ยอดสูง ๆ ต่ํา ๆ มีความสูงเฉลี่ย ประมาณ 800 เมตร และ ลาดไปทางทิศตะวันออกลงสู่ทะเลสาบสงขลาในอัตราความลาดชัน 25-30 เปอร์เซ็นต์ เทือกเขานี้เป็นส่วนหนึ่ง ของเทือกเขานครศรีธรรมราช เรียกกันโดยทั่วไปในท้องถิ่นว่า เขาบรรทัด พื้นที่ภูเขามีเนื้อที่รวมกันประมาณ 835.90 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 24.41 ของพื้นที่ทั้งหมด อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอป่าบอน ตะโหมด หงหรา ศรีนครินทร์ ศรีบรรพต และป่าพะยอม
2. พื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเทือกเขาบรรทัด หรือพื้นที่เชิงเขาลักษณะภูมิประเทศ เป็นเนินเตียๆ ที่เรียกกันโดยทั่วไปในท้องถิ่นว่า ควน มีเนื้อประมาณ 539.70 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 15.76 ของพื้นที่ทั้งหมด 1
3.พื้นที่ราบ มีเนื้อที่รวมประมาณ 1,485.54 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 43.38 ของพื้นที่ทั้งหมด ลักษณะพื้นที่ราบ และเนื่องจากเป็นที่ที่เหมาะแก่การกสิกรรม ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัด จึงนิยมตั้ง ถิ่นฐานหนาแน่นในบริเวณนี้
4.พื้นที่เกาะ เป็นพื้นที่ในบริเวณทะเลสาบสงขลาในเขตจังหวัดพัทลุง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอปากพะยูน มีเนื้อที่รวมกันประมาณ 219.17 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 6.40 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่เกาะเป็นถิ่นที่อยู่ ของนกอีแอ่นกินรังมีเนื้อรวมกันประมาณ 1.12 ตารางกิโลเมตร
พื้นน้ำในจังหวัดพัทลุงนั้นนับเป็นส่วนสำคัญของทะเลสาบสงขลา ประกอบด้วยทะเลน้อยและทะเลหลวง หรือทะเลสาบสงขลาตอนใน คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 344.16 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดนครศรีธรรมราช แบ่งได้เป็น 3 บริเวณ คือ
1.บริเวณเทือกเขาตอนกลาง ได้แก่บริเวณเทือกเขานครศรีธรรมราช มีอาณาเขตตั้งแต่ตอนเหนือของ จังหวัดลงไปถึงใต้สุด ได้แก่ อำเภอสิชล อำเภอขนอม อำเภอท่าศาลา อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอลานสกา อำเภอพรหมคีรี อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอชะอวด อำเภอจุฬาภรณ์ และอำเภอพระพรหม ในเขตเทือกเขานี้มี ภูเขาสูงสุดในจังหวัด คือ เขาหลวง ซึ่งสูงประมาณ 1,835 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล
2.บริเวณที่ราบชายฝั่งด้านตะวันออก ได้แก่บริเวณเทือกเขาตอนกลางไปทางตะวันออกถึงฝั่งทะเล อ่าวไทย จำแนกได้เป็น 2 ตอน คือ ตั้งแต่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ลงไปทางใต้ ที่มีความกว้างจากบริเวณ เทือกเขาตอนกลางไปถึงฝั่งทะเลระยะทางประมาณ 95 กิโลเมตร ได้แก่ อำเภอปากพนัง อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอหัวไทร และอำเภอชะอวด และอีกบริเวณหนึ่ง คือตั้งแต่อำเภอท่าศาลาขึ้นไปทางทิศเหนือ อำเภอที่อยู่ ในเขตพื้นที่ราบด้านนี้คือ อำเภอขนอม อำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา
3.บริเวณที่ราบด้านตะวันตก ได้แก่บริเวณที่ราบระหว่างเขานครศรีธรรมราช และเทือกเขาบรรทัด ซึ่งมีลักษณะเป็นเนินเขาอยู่เป็นแห่งๆ อำเภอที่อยู่ที่ราบด้านนี้ คือ อำเภอพิปูน อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอฉวาง อำเภอนาบอน อำเภอบางชัน อำเภอถ้ําพรรณรา และอำเภอทุ่งสง สายน้ำที่สำคัญ แก่ แหล่งต้นน้ำของแม่น้ำตาปี
ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
ลักษณะภูมิประเทศของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขาสูงบริเวณทิศตะวันตกและ ทิศใต้ของลุ่มน้ำ ด้านตะวันตกจะเป็นแนวเทือกเขาบรรทัดที่ทอดตัวในแนวเหนือใต้ ตั้งแต่รอยต่อระหว่าง จังหวัดพัทลุงกับจังหวัดตรัง ลงมาถึงรอยต่อระหว่างจังหวัดสงขลากับจังหวัดสตูล ส่วนทางด้านทิศใต้เป็นแนว เทือกเขาสันกลาคีรีบางส่วน ภูเขานี้ปกคลุมด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์จึงเป็นแหล่งต้นน้ำลําธารที่ไหลลงสู่ ทะเลสาบสงขลา สำหรับบริเวณด้านเหนือและด้านตะวันออกของพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเป็นพื้นที่ราบ ชายฝั่งทะเลจึงเกิดจากการทับถมของตะกอน
จังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง และจังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีภูเขาและเป็น คาบสมุทรทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านตะวันออกเป็นทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก ด้านตะวันตกเป็นทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย ทำให้ได้รับอิทธิพลลมมรสุมจากมหาสมุทรอินเดีย และพายุหมุนเขตร้อน จากทะเลจีนใต้ สลับกัน พัดผ่านประจำทุกปี คือ
- มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม
- มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ จากการพัดผ่านของมรสุมที่มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณแตกต่างกัน ทำให้มี 2 ฤดู คือ
1.ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ระยะนี้เป็นช่องว่างระหว่างฤดู มรสุมหลังจากสิ้นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือหรือฤดูหนาวแล้ว อากาศจะเริ่มร้อนและมีอากาศร้อนจัดที่สุด ในเดือนเมษายน
2.ฤดูฝน แบ่งออกเป็น 2 ระยะ
- ฤดูฝน จากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ปกคลุมตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมโดยกลุ่มฝน เคลื่อนตัวมาจากด้านตะวันตก (ทะเลอันดามัน) ส่วนมากฝนตกในช่วงบ่ายถึงค่าปริมาณและการกระจายของ ฝนจะน้อยกว่าช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
- ฤดูฝน จากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ปกคลุมตั้งแต่กลางเดือนจตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยกลุ่มฝนเคลื่อนตัวมาจากด้านตะวันออก (อ่าวไทย) ซึ่งปริมาณและการกระจายจะมากกว่ามรสุม ตะวันตกเฉียงใต้
สภาพภูมิอากาศบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ จึงสามารถแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน ฤดูร้อนเริ่ม ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนกรกฎาคม ส่วนฤดูฝนจะเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนมกราคม โดยฝน จะตกหนักมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน
การนับถือศาสนา
จังหวัดสงขลา
จังหวัดประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ 63.42 นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาร้อยละ 33.42 นับถือศาสนา อิสลามและร้อยละ 3.16 นับถือศาสนาอื่น ๆ (ศาสนาคริสต์ ฮินดู) จังหวัดสงขลาที่มีวัด จำนวน 435 แห่ง ที่พักสงฆ์จำนวน 113 แห่ง มัสยิดจำนวน 407 แห่ง โบสถ์คริสต์จำนวน 39 แห่ง
จังหวัดพัทลุง
จังหวัดพัทลุงประชากรส่วนใหญ่ ร้อยละ 88.01 นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาร้อยละ 12.08 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.053 นับถือศาสนาอื่น ๆ (ศาสนาคริสต์ ฮินดู) จังหวัดพัทลุงมีวัดจำนวน 238 แห่ง สำนักสงฆ์จำนวน 7 แห่ง ที่พักสงฆ์จำนวน 19 แห่ง มัสยิดจำนวน 92 แห่ง โบสถ์คริสต์จำนวน 6 แห่ง
จังหวัดนครศรีธรรมราช
จังหวัดนครศรีธรรมราชประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ 93.61 นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาร้อยละ 6.17 นับถือศาสนาอิสลามและร้อยละ 0.22 นับถือศาสนาอื่น ๆ (ศาสนาคริสต์ ฮินดู) จังหวัดนครศรีธรรมราชมีวัด จำนวน 614 แห่ง (มหานิกาย 536 แห่ง ธรรมยุต 78 แห่ง) สำนักสงฆ์จำนวน 157 แห่ง มัสยิดจำนวน 120 แห่ง โบสถ์คริสต์จำนวน 27 แห่ง มีวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง โรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญ 7 แห่ง ศูนย์อบรมศาสนา อิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิด 101 แห่ง และศูนย์ปฏิบัติการพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ 15 แห่ง
ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
ในสมัยก่อนถ้าย้อนไปหาอดีตก่อนสมัยอยุธยา ชุมชนบริเวณทะเลสาบสงขลา มีลักษณะเป็นเมืองท่าที่ ติดต่อค้าขายกับต่างชาติมากกว่าที่จะเป็นลักษณะของชุมชนเกษตรกรรม เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะในสมัยนั้นผู้คน มีน้อย และไม่เดือดร้อนในเรื่องข้าวปลาอาหารมากนัก ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ จึงเข้าใจว่าสังคมเกษตรกรรมอาจจะยังไม่เด่นชัด แต่ในสมัยอยุธยาเป็นต้นมา ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ขึ้นทั่วไปรอบทะเลสาบ ซึ่งมีพอให้เกิดการขยายตัวของชุมชนอย่างต่อเนื่อง ชาวนาที่ยึดมั่นอยู่กับค่านิยม รวมทั้งไสยศาสตร์ และประเพณีวัฒนธรรม กลายเป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่บริเวณนี้ และชาวนาก็จะอยู่ใน ลักษณะของไพร่ และข้าพระ ซึ่งไพร่นับเป็นชาวนากลุ่มใหญ่ ที่มีความจำเป็นต้องขึ้นอยู่กับขุนนาง หรือนาย ส่วนข้าพระหรือแลกวัดเป็นกลุ่มคนที่ทางพระมหากษัตริย์ได้อุทิศกัลปนาให้เป็นสมบัติของพระสงฆ์ชาวนาที่ เป็นข้าพระ หรือแลกวัดนี้จะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสถาบันสงฆ์
ที่กล่าวมานี้ก็เป็นลักษณะสถานะทางสังคมของผู้คนในสมัยนั้น อย่างไรก็ตามลุ่มน้ำทะเลสาบแห่งนี้ ไม่มีความปลอดภัยและมั่นคงสักเท่าไหร่ในชีวิตความเป็นอยู่ โดยเฉพาะสาเหตุมาจากการรุกรานของโจรสลัด และต้องประสบกับการรุกรานของเพื่อนบ้านอยู่เป็นประจำ
ส่วนในลักษณะของสังคมปัจจุบันของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีหลาย ๆ สิ่ง หลาย ๆ อย่างเปลี่ยนแปลง ไปสังคมไพร่และข้าพระกลายมาเป็นสังคมเกษตรกรรมที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทัศนคติ ค่านิยม ไสยศาสตร์ ประเพณีและวัฒนธรรม เปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยมากขึ้นโดยเฉพาะการได้รับอิทธิพลมาจากสังคม ภายนอก เช่น สังคมจากต่างประเทศเป็นต้น สังคมที่เคยเกื้อกลพึ่งพา กลายมาเป็นสังคมของการแข่งขัน และ ชิงดีชิงเด่น
จังหวัดสงขลามีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่และมีศักยภาพสูงในภูมิภาคใต้ จังหวัดสงขลานับเป็นจังหวัดที่มี ศักยภาพสูงในเกือบทุกด้านในพื้นที่ภาคใต้ เป็นจังหวัดที่มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ สูงสุดในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ และภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย มีด่านพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซีย 3 ด่าน มีท่าเรือน้ำลึก มีการคมนาคมขนส่งทางราง กับประเทศเพื่อนบ้านและระหว่างจังหวัด มีท่าอากาศยานนานาชาติ โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสงขลา ณ ราคาประจำปี 2561 มีขนาดเศรษฐกิจตามมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม ราคาปัจจุบัน 248,386 ล้านบาท เป็นมูลค่าจากผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร 30,863 ล้านบาท และนอกภาคเกษตร 217,523 ล้านบาท มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 17.71 ของภาคใต้ โดยมีอัตราขยายตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดย ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อปีต่อคน เท่ากับ 151,918 บาท ลดลงจากปี 2560 จำนวน 1,909 บาท เป็นลําดับที่ 6 ของภาค และลําดับที่ 22 ของประเทศ โครงสร้างเศรษฐกิจจังหวัดสงขลา ขึ้นอยู่กับภาคบริการเป็นหลัก มีสัดส่วนเป็นร้อยละ 54.90 รองลงมาคือภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนร้อยละ 32.67 ประกอบด้วย อุตสาหกรรม ต่อเนื่องจากยางพารา และอุตสาหกรรมแปรรูปและถนอมสัตว์น้ำ การผลิตที่มีความสำคัญรองลงมา ได้แก่ เกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง มีสัดส่วนร้อยละ 12.43 พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ยางพารา ปาล์ม น้ำมัน ข้าว และผลไม้ เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนโครงการผลิตในปี 2561 พบว่าเปลี่ยนแปลงจากปี 2560 คือ จากเดิม สาขาการผลิตที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่สาขาอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ขายส่งขายปลีก เหมืองแร่ และเหมืองหิน และสาขาการศึกษา สำหรับปี 2561 สาขาการผลิตที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรม ขายส่งขายปลีก เกษตรกรรมเหมืองแร่และเหมืองหิน และสาขาการศึกษา
จังหวัดสงขลามีด่านชายแดนที่สำคัญ จำนวน 3 ด่าน โดยข้อมูลปี 2562 สรุปได้ดังนี้
> ด่านศุลการกรสะเดา มูลค่าการค้ารวม 364,492.43 ล้านบาท นำเข้า 211,687.60 ล้านบาท ส่งออก 152,804.83 ล้านบาท
> ด่านศุลกากรปาดังเปซาร์ มูลค่าการค้ารวม 166,994,762 ล้านบาท นำเข้า 62,641.292 ล้านบาท ส่งออก 104,353.47 ล้านบาท
> ด่านศุลกากรบ้านประกอบ มูลค่าการค้ารวม 1,528.57 ล้านบาท นำเข้า 20,545 ล้านบาท ส่งออก 1,508.03 ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดพัทลุง ณ ราคาประจำปี 2561 โดยเฉลี่ยสาขาการเกษตร การป่าไม้ และ การประมง มีสัดส่วนสูงสุด ร้อยละ 31.08 ของสัดส่วนเฉลี่ยทั้ง 19 สาขาการผลิตและบริการ รองลงมา ได้แก่ สาขาการขายส่ง ขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ และจักรยานยนต์ สาขาการผลิตอุตสาหกรรม มีสัดส่วน ร้อยละ 13.13 และ 10.16 ตามลําดับในปี 2561 จังหวัดพัทลุงมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม ณ ราคาประจำปี ทั้งสิ้น 36,000 ล้านบาท ลดลงจากปี 2560 จำนวน 479 ล้านบาท โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อปีต่อคน เท่ากับ 73,213 บาท ลดลงจากปี 2560 จำนวน 1,186 บาท เป็นลําดับที่ 13 ของภาค และลําดับที่ 64 ของ ประเทศ รายได้ส่วนใหญ่ของจังหวัดมาจากการผลิตทางด้านเกษตร โดยเฉพาะยางพารา ข้าว ผัก ผลไม้ และ ปศุสัตว์รวมทั้งประมง ทั้งนี้ศักยภาพโดยรวมเหมาะแก่การเกษตร ทิศตะวันตกเป็นเทือกเขาบรรทัด แหล่งต้นน้ำ ลําธาร (พื้นที่ลาดเอียงไม่มาก) และทิศตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มทะเลสาบสงขลา ทะเลน้อย
ผลิตภัณฑ์มวลรวมนครศรีธรรมราช ณ ราคาประจำปี 2561 โดยเฉลี่ยสาขาการเกษตร การป่าไม้ และ การประมง มีสัดส่วนสูงสุด ร้อยละ 26.20 ของสัดส่วนเฉลี่ยทั้ง 19 สาขาการผลิตและบริการ รองลงมา ได้แก่ สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักยานยนต์สาขาการผลิตอุตสาหกรรม มีสัดส่วน ร้อยละ 12.02 และ 10.42 ตามลําดับ ในปี 2561 จังหวัดนครศรีธรรมราชมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม ณ ราคาประจำปี ทั้งสิ้น 164,375 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2560 จำนวน 4,418 ล้านบาท เป็นมูลค่าจากผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร 43,063 ล้านบาท และนอกภาคเกษตร 121,311 ล้านบาท มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 11.72 ของภาคใต้ โดยมี อัตราขยายตัวร้อยละ 4,4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อปีต่อคน เท่ากับ 109,050 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2560 จำนวน 2,413 บาท เป็นลําดับที่ 4 ของภาค และลําดับที่ 38 ของประเทศ รายได้ส่วนใหญ่ ของจังหวัด มาจากการผลิตทางด้านเกษตร โดยเฉพาะยางพารา ข้าว ผัก ผลไม้ และปศุสัตว์รวมทั้งประมง
ในสมัยก่อนชาวบ้านหรือชาวนาจะดํารงชีวิตอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ ไม่ใช่ลักษณะของ การแข่งขัน แต่ชาวนาสมัยนั้นก็จะต้องมีพันธะทางด้านเศรษฐกิจกับขุนนาง หรือนายตามระบบส่วยอากร ส่วนชาวนาที่เป็นข้าพระหรือแลกวัดนั้น ต้องขึ้นอยู่ในระบบเศรษฐกิจของวัดอย่างเคร่งครัด ตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นต้นมา ชาวนาในบริเวณนี้จะต้องส่งส่วยให้แก่ขุนนางรวมทั้งเสียอากรบางชนิดด้วย พอมาถึงปัจจุบัน โครงสร้างทางเศรษฐกิจเปลี่ยนไปสภาพเศรษฐกิจแบบพอยังชีพกลับกลายเป็นลักษณะของการดิ้นรนและต้อง เสียภาษีอากรให้กับรัฐตามลักษณะของการ ประกอบธุรกิจการงาน และรายได้ก็มีลักษณะคล้าย ๆ กับสมัยก่อน การนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้ นี่คือคําถามที่อยู่ในใจของคนรอบทะเลสาบสงขลาที่ปัจจุบันนี้ถือว่าเรื่องปากเรื่องท้องเป็น เรื่องสำคัญ การแข่งขันทางเศรษฐกิจมีมากขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งถ้าจะมองถึงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของ พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบการผลิตจะขึ้นอยู่กับสาขาการผลิตที่สำคัญ 3 สาขา คือ สาขาเกษตรกรรม การค้าส่งและ ค้าปลีก และสาขาการบริการ สำหรับสาขาเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพส่วนใหญ่ของคนลุ่มน้ำทะเลสาบแห่งนี้ซึ่ง ประกอบไปด้วย อาชีพประมงที่ถือเป็นอาชีพหลักโดยมีผู้ที่ประกอบอาชีพนี้ประมาณ 8,010 ครัวเรือนจาก 168 หมู่บ้าน รองลงมาได้แก่ ยางพารา ข้าว สวนผสมไม้ผล พืชผักสวนครัว
สาขาการค้าส่งและค้าปลีก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการค้าสัตว์น้ำจะมีพ่อค้าแม่ขาย ทั้งค้าส่งและค้าปลีกมา ติดต่อรับซื้อสัตว์น้ำจากการประมงของเกษตรกรไปจำหน่ายทั้งในพื้นที่และต่างจังหวัด
สาขาการบริการ นับว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนแห่งนี้ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว โดยพื้นที่รอบทะเลสาบสงขลามีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย ซึ่งบางแห่งมีชื่อเสียงระดับประเทศก็ว่าได้ เช่น อุทยานนกน้ำทะเลน้อย - คูขุด, อุทยานเขาปู่ เขาย่า, ถ้ําพระคูหาสวรรค์, หาดแสนสุขลําป่า, เกาะสีเกาะห้า, เขาตังกวน, เกาะยอ เป็นต้น
แหล่งท่องเที่ยวของพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
เขตพัฒนาการท่องเที่ยวลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ประกอบด้วยจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา เชื่อมโยงกันด้วยทะเลสาบสงขลาอันเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ (Ramzar site) และเป็นทะเลสาบ แบบลากูน (Lagoon) ที่เดียวในประเทศไทย และเป็น 1 ใน 117 แห่งทั่วโลก มีระบบนิเวศอันอุดมสมบูรณ์ อันผสมผสานป่าดิบขึ้น ป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน ป่าพร มีวิถีชีวิตชุมชนชาวประมงชายฝั่ง พร้อมด้วยอาหารทะเลท หลากหลาย มีอัตลักษณ์ร่วมของเขตพัฒนาการท่องเที่ยว คือ พื้นที่ลุ่มแม่น้ำทะเลสาบสงขลา และวิถีชีวิต ชาวประมง และประเพณีพื้นถิ่น มีทรัพยากรหลักทางการท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัด ดังนี้
จังหวัดสงขลา
เป็นเมืองที่มีอารยธรรมเจริญรุ่งเรือง มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ รวมถึงประเพณีที่สืบทอดจากบรรพ บุรุษจากรุ่นสู่รุ่น มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ดังนี้
- ทรัพยากรด้านประวัติศาสตร์ โบราณสถาน และโบราณวัตถุ ได้แก่ ย่านเมืองเก่าสงขลา มีความเก่าแก่กว่า 200 ปี อาคารบ้านเรือนไม้แบบจีน อาคารเก่าสไตล์ชิโนโปรตุกีส ศาลเจ้าพ่อกวนอู โรงแรม นางงามเป็นโรงแรมไม้เก่าแก่ประดับลายฉลุไม้วิจิตรบรรจง พิพิธภัณฑ์พธํามรงค์ (พะธํามะรง) พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติสงขลา บ้านลุงหนังฉินอรมุต
- ทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ ทะเลสาบสงขลา หาดสะกอม อุทยานนกน้ำคูขุด อุทยานนกน้ำที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง แหลมสนอ่อน แหลมสมิหลาหาดทรายสวยงาม ที่ขึ้นชื่อของสงขลา เกาะหนูเกาะแมว
- ทรัพยากรด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณีเก่าแก่ ได้แก่ ประเพณีแห่รับเดือนสิบ และประเพณีขึ้นเขากุฏ วัดขวดวัดของไทยที่สร้างขึ้นจากขวดแก้ว วัดถ้ําเขารปช้าง วัดจีนมีสถาปัตยกรรมโดดเด่นของภาคใต้ วัดจะทิ้งพระสร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 1542 ภายในวัดมีโบราณสถานซึ่ง เป็นศิลปะสมัยศรีวิชัย มีภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารที่มีอายุประมาณ 100 ปี วัดมัชฌิมาวาส มีอายกว่า 400 ปี โดยสร้างขึ้นในตอนปลายอยุธยา พระอุโบสถสร้างสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นศิลปะประยุกต์ไทย-จีน ภายใน วัดมีพิพิธภัณฑ์ภัทรศิลปะ รวบรวมพระพุทธรูปและวัตถุโบราณของเมืองสงขลา สทิงพระ ระโนด เขาตังกวน บนยอดเขาตังกวนเป็นที่ประดิษฐานเจดีย์พระธาตุคู่เมืองสงขลาสร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็น ศิลปะสมัยทวารวดี เจดีย์พระบรมธาตุวัดชัยมงคล เกาะยอเรียนรู้การทำสวนผลไม้แบบสุมรุมชมผ้าทอเกาะยอ ซึ่งเป็นผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียง ล่องเรือชมแหล่งเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังในทะเลสาบสงขลา สถาบันทักษิณ คดีศึกษา หมู่บ้านทำกรงนก
- ทรัพยากรอื่น ๆ ได้แก่ สงขลาอะควาเรียม สวนสัตว์สงขลา เป็นต้น
- สถานภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวหลักหรือความโดดเด่นของทรัพยากร เป็นโบราณสถาน เบราณวัตถุประเพณีที่สืบทอดจากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น ชายทะเล ทะเลสาบ รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศ รวมถึงภายใต้อัตลักษณ์ และวิถีของท้องถิ่นคนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
จังหวัดนครศรีธรรมราช
เป็นเมืองโบราณ มีการค้นพบวัตถุโบราณ และหลักฐานทางโบราณคดีอื่น ๆ หลายอย่าง มีทรัพยากร การท่องเที่ยว ดังนี้
- ทรัพยากรด้านประวัติศาสตร์ โบราณสถาน และโบราณวัตถุ ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช วัตถุโบราณเก่าแก่ที่ค้นพบใน 4 จังหวัดภาคใต้ พระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานที่หอพระพุทธสิหิงค์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ชมกำแพงเมืองเก่าแก่ของนครศรีธรรมราชที่สะท้อนถึงความเป็นเมืองโบราณ กุฏิทรงไทยที่ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นประเภทปูชนียสถาน และวัดวาอารามจากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ บ้านท่านขุนรัฐวุฒิวิจารณ์เรือนปั้นหยา อายุมากกว่า 108 ปี บ้านหนังตะลุงสุชาติ ทรัพย์สิน พระตำหนักเมืองนคร
- ทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ ชายทะเลปากพนัง และแหลมตะลุมพุก ถ้ําลอด ถ้ําเขาวังทอง ชมประติมากรรมธรรมชาติจากภายในถ้ําอันเกิดจากหินงอกหินย้อย อุทยานแห่งชาติเขาหลวง น้ำตกท่าแพเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติเขาหลวง น้ำตกมีทั้งหมด 7 ชั้น ชุมชนกลุ่มทะเลหมอกกรุงชิง ถ้ําหงส์ น้ำตกพรหมโลก น้ำตกกรุงชิง น้ำตกสี่ขีด น้ำตกอ้ายเขียวหรือในเขียว อุทยานแห่งชาติหาดขนอมหมู่เกาะทะเลใต้
- ทรัพยากรอื่น ๆ ได้แก่ บ้านรังนก
- สถานภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวหลักหรือความโดดเด่นของทรัพยากร ได้แก่ วัด โบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ถ้ำ และน้ำตก
จังหวัดพัทลุง
เป็นเมืองเก่าแก่โบราณเมืองหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเมืองขุนเขาอกทะลุ เพราะขุนเขาอก ทะลุอยู่บริเวณกลางเมือง เป็นจุดเด่นประจำจังหวัด นอกจากนี้ จังหวัดพัทลุงยังถือเป็นเมืองต้นกำเนิด ศิลปะการแสดงมโนห์รา หนังตะลุง และตกทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของภาคใต้มาถึงปัจจุบัน มีแหล่ง ธรรมชาติที่สำคัญระดับประเทศอย่างทะเลน้อย ซึ่งอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย พื้นที่ชุ่มน้ำ และ ทะเลสาบน้ำจืดที่เป็นแหล่งอาศัยของนกน้ำหลากหลายพันธุ์ มีทรัพยากรท่องเที่ยว ดังนี้
- ทรัพยากรด้านประวัติศาสตร์ โบราณสถาน และโบราณวัตถุ ได้แก่ วังเจ้าเมืองพัทลุง
- ทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ ทะเลสาบสงขลา น้ำตกไพรวัลย์
- ทรัพยากรด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ได้แก่ งานเทศกาล ล่องเรือแลนกทะเลน้อย งานประเพณีแข่งโพนลากพระ หรือประเพณีชักพระ และวิถีชีวิตลุ่มทะเลสาบสงขลา
- สถานภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวหลัก หรือความโดดเด่นของทรัพยากร ได้แก่ เทศกาล และ งานประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ประเพณีแข่งโพนลากพระ หรือ ประเพณีชักพระวิถีชีวิตลุ่ม ทะเลสาบสงขลา