เวลาทำการ
เปิดทุกวัน

ศาลหลวงต้นไทร
(San Luang Ton Sai)

    

เป็นศาลหลวงที่ทรงสร้างโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดตั้งเมื่อวันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม 2547 และประกอบพิธีบวงสรวงอัญเชิญเทพารักษ์ขึ้นประดิษฐ์ฐาน ณ ศาลต้นไทร โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขานุการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานในพิธีฯ ศาลต้นไทรสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง บริเวณโดยรอบปูด้วยหินอ่อนและมีการจัดสภาพภูมิทัศที่สวยงาม ตั้งอยู่ริมแม่น้ำชะอวดแพรกเมือง ซึ่งมีทัศนียภาพที่สวยงามมาก คงไม่มีใครใน จ.นครศรีธรรมราช ที่จะไม่รู้จัก ศาลหลวงต้นไทร โดยเฉพาะคนใน อ.เชียรใหญ่ และ อ.หัวไทร ซึ่งเป็นพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ต่างร่ำลือถึงกิตติศัพท์ของความศักดิ์สิทธิ์ขณะก่อสร้างโครงการเมื่อหลายปีก่อน โดยเฉพาะการขุดคลองระบายน้ำชะอวด-แพรกเมือง หมู่ 12 ต.การะเกด อ.เชียรใหญ่ ที่ต้องหยุดชะงักไปพักใหญ่ เพราะเครื่องยนต์ของเรือขุด และรถแบ็กโฮ จะดับทุกครั้งที่เข้าไปใกล้ต้นไทรใหญ่ ทั้งยังมีคนงานล้มป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุอีกด้วย!! ชาวบ้านที่นั่นต่างเชื่อว่า สาเหตุของเรื่องราวประหลาดดังกล่าวเกิดจาก "อาถรรพณ์" ของต้นไทร โดยบริเวณใต้ต้นไทรยังขุดพบซากกระดูกมนุษย์ และสัตว์ใหญ่ต่างๆ รวมทั้งเปลือกหอยทะเล เมื่อชาวบ้านทราบข่าวก็พากันไปกราบไหว้ต้นไทรกันเป็นจำนวนมาก ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มา ณ แปลงปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2545 ครั้งนั้น นายจำนูญ พลายด้วง ชาวบ้าน ต.แม่เจ้าอยู่หัว อ.เชียรใหญ่ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้เข้าเฝ้าฯ และได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึงต้นไทรโบราณขนาดใหญ่ที่ขึ้นขวางแนวขุดคลองชะอวด-แพรกเมือง นายจำรูญ กราบบังคมทูลถึงเรื่องราวประหลาดที่เครื่องยนต์ขนาดใหญ่จะดับทุกครั้งเมื่อขับเคลื่อนมาถึงต้นไทร และเมื่อมีชาวบ้านมาตั้งเครื่องเซ่นไหว้ และขอโชคลาภก็สมปรารถนาในสิ่งที่ขอ จึงมีความเชื่อว่าต้นไทรต้นนั้นเป็นต้นไทรศักดิ์สิทธิ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำริให้ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขานุการมูลนิธิชัยพัฒนา ไปดำเนินการจัดสร้างศาลหลวงขึ้นตามโบราณราชประเพณี ต่อมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานงบประมาณให้แก่มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการก่อสร้างศาลขึ้น โดยมี นาวาอากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น อดีตอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบ เมื่อจัดสร้างแล้วเสร็จ มูลนิธิชัยพัฒนาได้ประสานกองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง คำนวณฤกษ์ศุภมงคลการพิธีตั้งศาลตามฤกษ์ โดยมีพราหมณ์หลวงเป็นผู้ประกอบพิธีหลวง เมื่อวันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม 2547 เวลา 10.09 น. ตั้งแต่นั้นเรื่อยมา ศาลหลวงต้นไทร จึงเป็นที่เคารพสักการะของชาวลุ่มน้ำปากพนัง ทั้งยังเป็นอนุสรณ์แห่งพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกด้วย ศาลหลวงต้นไทรยังถือเป็นสถานที่ยอดนิยมในพื้นที่ และเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังฯ จากภูมิทัศน์ที่สวยงาม แปลกตา และต้นไทรขนาดใหญ่ที่ยืนต้นตระหง่านอยู่กลางลำน้ำ ด้วยเหตุนี้ ในวันหยุดยาวจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประทศ โดยเฉพาะชาวสิงคโปร์ และมาเลเซีย เดินทางมากราบไหว้ศาลต้นไทรเป็นจำนวนมาก เพราะเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ การให้โชคลาภ และให้คุ้มครองในการเดินทางด้วย ศาลหลวงต้นไทร จึงเป็นทั้งศูนย์รวมจิตใจของชาวลุ่มน้ำปากพนัง และเป็นอนุสรณ์แห่งพระมหากรุณาธิคุณแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ทรงรักและห่วงใยพสกนิกรของพระองค์ท่านอย่างหาที่สุดมิได้ ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ชาว อ.เชียรใหญ่ และคนในลุ่มน้ำปากพนัง จึงร่วมกันจัดงานสักการะศาลหลวงต้นไทรศักดิ์สิทธิ์เพื่อความเป็นสิริมงคลในช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นประจำทุกปี

It is a royal shrine built under the royal initiative of His Majesty the King. Established on Friday, October 29, 2004 and held a ceremony to invite the gods to build a base at the Banyan Tree Shrine by Dr. Sumet Tantivejkul, committee member and secretary of the Chaipattana Foundation. presided over the ceremony The Banyan Shrine is built entirely from teak wood. The surrounding area is paved with marble and has a beautiful landscape. Located along the Cha-uat Phraek Mueang River. which has a very beautiful scenery, probably no one in Nakhon Si Thammarat Province to not know Ton Sai Royal Shrine, especially for people in Chian Yai District and Hua Sai District, which are the areas of the Pak Phanang Basin Development Project under the royal initiative. which were rumored of the reputation of its holiness during the construction of the project many years ago. Especially the digging of the Cha-uat-Phraek Mueang drainage canal, Village No. 12, Karaket Subdistrict, Chian Yai District, which had to be halted for a while. Because the engines of dredgers and backhoes will shut down every time they get close to the big banyan tree. There were also workers who fell ill for unknown reasons!! The villagers there believed that The cause of this strange story is due to the "magic" nature of the banyan tree. Under the banyan tree, remains of human bones were also unearthed. and various large animals including sea shells When the villagers heard the news, they went to worship the banyan tree in large numbers. Later, His Majesty the King His Majesty traveled along with Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn came to the mangrove forest plantation plot in honor of PTT Public Company Limited, Pranburi District, Prachuap Khiri Khan Province, on November 16, 2002. At that time, Mr. Chamnoon Plai Duang, a villager in Mae Chao Yu Hua Subdistrict, Chian Yai District, Received the royal grace to attend His Majesty the King. and informed His Majesty the King about the large ancient banyan tree that was growing across the Cha-uat-Phraek Mueang canal. Mr. Chamroon informed the king of the strange story that the large engine would shut down every time it reached the banyan tree. and when villagers come to set up offerings And if you wish for good fortune, what you wish for will come true. Therefore, it is believed that the banyan tree is a sacred banyan tree. His Majesty the King therefore gave the idea to Dr. Sumet Tantivejkul, committee member and secretary of the Chaipattana Foundation. went to build a royal shrine according to ancient royal traditions. Later, Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn Princess Maha Chakri Sirindhorn His Majesty granted budget to the Chaipattana Foundation to construct the court, led by Wing Commander Awut Ngernchuklin, former Director-General of the Fine Arts Department. is the designer When construction is completed The Chaipattana Foundation has coordinated with the Royal Ceremony Division. Bureau of the Royal Household Calculate the auspicious time for the shrine installation ceremony according to the auspicious time. with a royal brahmin performing the royal ceremony On Friday, October 29, 2004 at 10:09 a.m. ever since. Ton Sai Royal Shrine Therefore, it is revered and worshiped by the people of the Pak Phanang Basin. It is also a memorial of His Majesty the King's benevolence. The Ton Sai Shrine is also a popular attraction in the area. and is another symbol of the Pak Phanang Basin Development Project. From the beautiful, unusual landscape and the large banyan tree that stands majestically in the middle of the river. For this reason, during long holidays there will be both Thai and foreign tourists. Especially Singaporeans and Malaysians, many people come to pay their respects to the Banyan Tree Shrine. Because they believe in sacredness, good fortune and protection when traveling. Ton Sai Royal Shrine Therefore, it is both the center of spirit of the people of the Pak Phanang Basin. and is a memorial of the royal grace of the monarchy that loves and cares for its people infinitely. With deep gratitude for His Majesty's grace, the people of Chian Yai District and the people in the Pak Phanang River Basin Therefore, we jointly organize an event to pay homage to the sacred royal banyan tree shrine for good fortune during the Songkran festival every year.

แกลเลอรี่ภาพ

Comment

Rate : / 5

สถานที่เเนะนำ

วัดวารีปาโมกข์

ท่องเที่ยว (สงขลา)

วัดวารีปาโมกข์
ท่องเที่ยว (สงขลา)

Thursday | Khuan Khanun

อาหารเเละเครื่องดื่ม (พัทลุง)

Thursday | Khuan Khanun
อาหารเเละเครื่องดื่ม (พัทลุง)

พระพุทธมงคลมหาราช

ท่องเที่ยว (สงขลา)

พระพุทธมงคลมหาราช
ท่องเที่ยว (สงขลา)

บ้านคลองนุ้ย

ท่องเที่ยว (พัทลุง)

บ้านคลองนุ้ย
ท่องเที่ยว (พัทลุง)

ร้านอาหารนั่งเล่นชะอวด

อาหารเเละเครื่องดื่ม (นครศรีธรรมราช)

ร้านอาหารนั่งเล่นชะอวด
อาหารเเละเครื่องดื่ม (นครศรีธรรมราช)

สุสานมรหุ่ม

ท่องเที่ยว (สงขลา)

สุสานมรหุ่ม
ท่องเที่ยว (สงขลา)