เวลาทำการ
ไม่ได้ระบุ

บ้านแหลมกรวด
(Baan-Leam-Kruad)

    

หมู่ที่ 3 บ้านแหลมกรวด ต.เกาะหมาก อ.ปากพะยูน ประวัติหมู่บ้านแหลมกรวด บ้านแหลมกรวด ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เป็นชื่อที่นักเดินเรือสมัยโบราณเรียกขานกัน เพราะทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเขาคลองกรูด (ภูเขาที่สูงที่สุดในตำบลเกาะหมาก) มีหาดหินกรวดยื่นเป็นแหลมออกไปประมาณ 8 กิโลเมตรเชื่อมต่อกับบ้านแหลมบ่อท่อ (บริเวณวัดบ่อท่อ) ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา ซึ่งหาดดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ หากผู้เดินเรือไม่มีความชำนานในล่องน้ำ จะมีความเสี่ยงเกยตื่น แต่ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ ทำให้บ้านแหลมกรวดมีผู้คนเข้ามาอาศัยกันอย่างหนาแน่น เป็นหมู่บ้านที่ใหญ่ที่สุดของตำบลเกาะหมาก ประกอบด้วยบ้านแหลมกรวด บ้านอ่าวสวนน้อย บ้านเก่า บ้านอ่าวม่วง (บ้านเขาชัน) บ้านแหลมขี้เหล็ก บ้านแหลมกอก บ้านอ่าวท้องโหนด บ้านน้ำบ่อหมาก บ้านโคกหว้า บ้านหัวหิน และบ้านตากแดด ปี พ.ศ.2516 ได้รวบเอาเกาะรังนก (หมู่เกาะสี่เกาะห้าเข้ามาอยู่ในเขตพื้นที่ปกครอง โดยตั้งเป็นบ้านเลขที่ 279 หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุงตามคำที่เล่าสืบทอดกันมา มีสตรีผู้สูงศักดิ์นางหนึ่งเรียกขานกันว่า “นางผมหอม” ได้พำนักอยู่ที่เกาะทะเลใต้ นางได้ทำบาปด้วยการประทุษร้ายสามเณรโดยไม่ได้มีเจตนา ต่อมาก็ได้รู้สึกผิดและคิดจะเดินทางมาไถ่บาปที่เมืองสิงหปุระ (เมืองเสิ้งจี้) ซึ่งเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านพระพุทธศาสนา การเดินทางของนางและคณะเดินทางลงมาจากที่พำนักของนางซึ่งเรียกทางเดินของนางกันว่า “เขาบันไดนาง” จากนั้นนางได้ข้ามท่าเรือ (ปัจจุบันเรียกกันว่าบ้านท่าข้าม) และมาลงเรือสำเภาที่บ้านท่านางหอม ก็ได้เดินทางมายังทิศเหนือแต่ยังไม่ถึงเมืองก็พลบค่ำที่หมู่เกาะแห่งหนึ่งเรียกว่า “เกาะนางค่ำ” ต่อมาเพี้ยนมาเป็นเกาะนางคำ ครั้นเดินทางมาถึงหน้าเมือง หางเรือกระแทกกับโขดหินจนหางเรือชำรุดไม่สามารถบังคับทิศทางได้ ต่อมาจึงเรียกบริเวณนั้นว่า “บ้านเกาะเสือ” การที่หางเสือเรือกระแทกหินไม่สามารถบังคับได้ เรือได้ลอยลำไปอีกเกาะหนึ่งซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก และนางได้พักค้างแรมที่เกาะนั้น จึงเรียกสถานที่แห่งนั้นว่า “เกาะบรรทม”ครั้นรุ่งเช้าคณะเดินทางได้ช่วยกันซ่อมแซมหางเรือ เมื่อเสร็จแล้วจึงได้เดินทางเข้าเมือง นางได้แจ้งวัตถุประสงค์ของนาง ให้ทางกษัตริย์ของเมืองได้ทรงทราบและนางก็ได้รับมอบหมายให้มาพังนักที่กำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือ ปัจจุบันคือ เขาคลองกรูด โดยอาศัยอยู่ในถ้ำเขาคลองกรูด บัดนี้ยังคงเห็นร่องรอยถ้ำนางอยู่ที่หน้าผาทางทิศตะวันออกของตัวภูเขา ชาวบ้านแหลมกรวดเรียกนางว่า “นางผมหอม” ส่วนชาวบ้านในเขตอำเภอควนเนียง เรียกนางว่า “นางพญาเขาขวาง” ปัจจุบันนี้เขาคลองกรูดตั้งอยู่ในเขตรอยต่อระหว่างหมู่ที่ 3 บ้านแหลมกรวดและหมู่ที่ 10 บ้านหัวหิน ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีประวัติศาสตร์ในสมัยที่ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยเสด็จมาประทับแรม ก่อนเสด็จไปยังเกาะหมาก ซึ่งเป็นที่ตั้ง ขนาบอยู่หน้าเกาะสี่เกาะห้า จึงได้มีการสร้างพระบรมรูปบนเกาะรังนก และสิ่งสำคัญมากอย่างหนึ่งที่หลงเหลือ ไว้ผ่านกาลเวลาเนิ่นนานนับร้อยปี คือพระปรมาภิไธย ที่จารึกไว้ว่า จ.ป.ร. ๑๐๘ บริเวณผาหน้าถ้ำบนเกาะรังนกแห่งนี้ ซึ่งพระปรมาภิไธยจะอยู่บริเวณหลังพระบรมรูป นักท่องเที่ยวสามารถมาเยี่ยมชม และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณถึงพระองค์ท่าน ซึ่งแม้แต่ดินแดนที่คนพัทลุงเองบางคนยังไม่เคยไปถึง แต่พระองค์ยังได้เคยเสด็จประพาส และทรงจารึกพระปรมาภิไธยย่อไว้อีกด้วย หมู่เกาะสี่เกาะห้า เป็นหมู่เกาะหินปูน ซึ่งตั้งอยู่ในทะเลสาปสงขลาตอนใน อยู่ห่างจากเกาะหมากไปทางทิศตะวันตกประมาณ 1.6 กิโลเมตร สาเหตุที่เรียกว่า “เกาะสี่เกาะห้า” เนื่องจากเมื่อมองจากทิศใต้ และทิศเหนือ จะมองเห็นเป็นเกาะสี่เกาะ แต่ถ้ามองจากทิศตะวันตกจะเห็นเป็นเกาะห้าเกาะ จึงเรียกว่า เกาะสี่เกาะห้า ซึ่งมีเกาะเล็กเกาะใหญ่มากมาย เช่น เกาะท้ายถ้ำดำ เกาะร้านไก่ เกาะรูสิม เกาะหน้าเทวดา หรือเกาะมวย เกาะกันตัง เกาะป้อย เกาะตาโส เกาะยายโส เกาะกระ และเกาะราบ ซึ่งเป็นดินแดนประวัติศาสตร์ มีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีลักษณะเป็นภูเขาหินปูนเขียวครึ้มไปด้วยต้นไม้ที่ขึ้นตามซอกของโขดหิน และระหว่างเขาหินเป็นที่ราบลุ่มชุ่มน้ำ เต็มไปด้วยต้นกก และกระจูด ที่นี่จึงเหมาะสำหรับการชมธรรมชาติของนักนิยมไพร ในบริเวณทะเลสาบพัทลุง-สงขลา-นครศรีธรรมราช เป็นที่ก่อกำเนิดชุมชนอารยะธรรม ศิลปะวัฒนธรรมมานานนับพันปี และสืบเนื่องมาเป็นวิถีชีวิตปัจจุบัน ผสมผสานกับวัฒนธรรมสมัยใหม่ นักท่องเที่ยวสามารถมาล่องเรือสัมผัสบรรยากาศธรรมชาติได้ เขาวัด อยู่ในพื้นที่อ่าวบ้านเก่า ซึ่งเป็นชุมชนโบราณเก่าแก่ที่มีการตั้งรกรากถิ่นฐานมายาวนานบริเวณทางขึ้นเขาวัดจะเต็มไปด้วยเถาวัลย์ไม้เลื้อย ไม้ยืนต้นขนาดต่าง ๆ ส่วนด้านบนของเขาวัดจะมีศาลาอยู่หลังหนึ่งมีลักษณะเหมือนศาลาวัดทั่วไป แต่จะมีความแตกต่างในการก่อสร้างตรงที่หลังคาศาลาจะหล่อด้วยปูนทั้งหมดแทนการใช้กระเบื้อง ตัวศาลาจะมีพนักพิงอยู่ด้านข้าง โดยภาพรวมของศาลาเหมือนมีศิลปะแบบจีนผสมอยู่เล็กน้อย อีกทั้งศาลายังมีพระพุทธรูปปั้นทำด้วยปูนขาวซึ่งเคยบูรณะมาแล้วในปีพ.ศ.2524 ส่วนองค์เจดีย์ และพระเวียนได้ถูกทำลายผุพังลงไปเกือบหมด บริเวณด้านหลังของเขาวัด สามารถมองเห็นเกาะสี่เกาะห้า ถือได้ว่าเป็นจุดชมวิวที่สวยงามแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีงานบุญประเพณีประจำปีของชาวบ้านคืองานทำบุญที่เขาวัด จะมีกิจกรรมการตักบาตร การถวายทาน การถวายสังฆทานแก่พระสงฆ์ การทำบุญกรวดน้ำ และงานบุญต่าง ๆ ซึ่งในวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี จะมีการทำความสะอาดบนเขาวัด และนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จุดชมวิวเขานางฟ้า ตั้งอยู่บนเนินเขา เป็นเขาที่สามารถมองเห็นลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนกลาง และถนนพระธาตุเจดีย์สถานทิพย์พิมาน ด้านบนเป็นที่ประดิษฐานเจดีย์ก่ออิฐถือปูนสร้างเมื่อ พ.ศ. 2527 มีความสูงประมาณ 20 เมตร รวมฐานล่างหอระฆังมีขนาดประมาณ 5 X 5 เมตร องค์ระฆังสูงประมาณ 50 เซนติเมตรเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 30 เซนติเมตร สลักลวดลายไทยโบราณไว้และได้มีการจัดงานสมโภชเมื่อปี พ.ศ. 2532 ไว้ให้นักท่องเที่ยวได้กราบไหว้สักการะ บริเวณยอดเขานางฟ้าได้จัดให้เป็นเขตอนุรักษ์ทรัพยากร เป็นจุดชมวิวที่เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพราะเมื่อขึ้นไปบนจุดชมวิวจะได้ชื่นชมกับทัศนียภาพของตำบลเกาะหมากได้อย่างจุใจตำนานจุดชมวิวเขานางฟ้าที่เล่าขานกันมาว่ามีนางฟ้า 7 องค์ นั่งทอผ้าเพื่อถวายพระศรีอารย์ เมื่อทอผ้าจนเหนื่อย นางฟ้าก็ได้เปลื้องเครื่องแต่งกายลงอาบน้ำ ในระหว่างนั้นได้มีชาวบ้านคนหนึ่งชื่อว่าตาไกรซึ่งอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านแหลมกรวด กำลังปาดตาลทำน้ำตาลหวาก (น้ำตาลเมา) อยู่บนต้นตาลในขณะที่นางฟ้าเหาะผ่านช่วงที่ตาไกรกำลังยกกระบอกน้ำตาลหวากขึ้นมาดื่มพอดี ตาไกรจึงได้เห็นนางฟ้าเหาะลงมาจากยอดเขาเลื่อนลงไปที่แท่นหินอาบน้ำ ตาไกรจึงได้ตะโกนให้ผู้คนมาดูนางฟ้าเหล่านั้น โดยร้องตะโกนไปว่า “เอ้ยมาดูนางฟ้ากัน เฮ้ยนมนางฟ้าสวยจังเลย” ที่ตาไกรตะโกนเช่นนั้นก็เพราะว่าปกตินางฟ้าจะใช้เพียงสไบเฉียงเพียงผืนเดียวหรือไม่ใช้เพื่อการลงไปอาบน้ำเพราะคิดว่าคงไม่มีใครเห็น เมื่อตาไกรตะโกนเช่นนั้นนางฟ้าก็เกิดความโกรธและสาปแช่งตาไกรให้ตกต้นตาลตาย เวลาผ่านพ้นไป 3 วันตาไกรก็ตกต้นตาลตายตามคำสาปแช่ง ผู้คนจึงเรียกสถานที่ๆ ตาไกรตกต้นตาลว่า “นาตาไกร” หลังจากเหตุการณ์นั้นเป็นต้นมานางฟ้าก็ได้หายไปจากเขานางฟ้าโดยไม่เคยแสดงตัวให้ใครเห็นอีกเลยตราบเท่าทุกวันนี้ หมู่เกาะรังนก เป็นเกาะแห่งหนึ่งที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ อยู่ประมาณกลาง ๆ ของหมู่เกาะ คือ เกาะเทวดา แต่ชาวบ้านมักจะเรียกว่า “หมู่เกาะรังนก” เพราะเกาะแห่งนี้เป็นที่อยู่ของนกนางแอ่น ว่ากันว่ารังนกที่เก็บจากเกาะนี้เป็นรังนกที่ดีที่สุดในโลก บริเวณเกาะเป็นสัมปทานของบริษัท สยามรังนกทะเลใต้ จำกัด จึงดูค่อนข้างเข้มงวดสำหรับการเข้า-ออก บรรยากาศโดยรอบหมู่เกาะรังนกตอนเรือเข้าเทียบท่าดูคล้าย ๆ กับคลองมากกว่าเกาะ เหลือพื้นที่น้ำระหว่างเกาะไม่กว้างมาก มีป่าชายเลนขึ้นปกคลุม บริเวณรอบหมู่เกาะรังนกมีบ้านพักคนงานอยู่ริมฝั่ง ซึ่งคนงานจำนวนหลายสิบคนที่มาอยู่บนเกาะแห่งนี้เป็นเวลานาน ๆ กว่าจะถึงฤดูการเก็บรังนก ซึ่งจะมีเพี ยงปีละ 2 ครั้งเท่านั้น

แกลเลอรี่ภาพ

Comment

Rate : / 5

สถานที่เเนะนำ

ล่องแพบ้านวังหอน Wanghon Bamboo Rafts

ท่องเที่ยว (นครศรีธรรมราช)

ล่องแพบ้านวังหอน Wanghon Bamboo Rafts
ท่องเที่ยว (นครศรีธรรมราช)

ร้านอาหารวิวยอ ศรีปากประ

อาหารเเละเครื่องดื่ม (พัทลุง)

ร้านอาหารวิวยอ ศรีปากประ
อาหารเเละเครื่องดื่ม (พัทลุง)

เกาะยอ

ท่องเที่ยว (สงขลา)

เกาะยอ
ท่องเที่ยว (สงขลา)

ตำหนักเขาน้อย

ท่องเที่ยว (สงขลา)

ตำหนักเขาน้อย
ท่องเที่ยว (สงขลา)

ป่า พรุ ควน เคร็ง

ท่องเที่ยว (นครศรีธรรมราช)

ป่า พรุ ควน เคร็ง
ท่องเที่ยว (นครศรีธรรมราช)

ร้านครัวเรือนไทย

อาหารเเละเครื่องดื่ม (สงขลา)

ร้านครัวเรือนไทย
อาหารเเละเครื่องดื่ม (สงขลา)