ส่วนแรก นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ อยู่ชั้น 2 ซึ่งมี รูปภาพการเสด็จเมืองนครของรัชกาลที่ 9 ใต้ร่มรอยพระบาท เสด็จเมืองนครจำนวน 16 ครั้ง อีกทั้งมีส่วนผ้าปักพระราชกรณียกิจ โดยกลุ่มผ้าปักควนชะลิก ในนิทรรศการ ยังมีการเสด็จเยี่ยมของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาในทฤษฎีแกล้งดิน ที่บ้านควนโถ๊ะตำบลแหลม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีฯ
ในส่วนที่ 2 เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านควนชะลิก เปิดบริการจันทร์ถึงศุกร์เวลา 08:00 น ถึง 16:00 น หากเป็นวันหยุดติดต่อล่วงหน้า ซึ่งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านนี้ เป็นกลุ่มของผู้สูงอายุในท้องถิ่นเห็นความสำคัญของวิถีชีวิตในอดีตของคนควนชะลิก ต้องการถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆสู่เยาวชนรุ่นใหม่ซึ่งไม่มีโอกาสได้รับรู้ พบเห็นในปัจจุบัน จึงจัดตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเพื่อรวบรวมจัดเก็บเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆไว้ ดำเนินการตั้งแต่ปีพศ 2545 ขอรับบริจาคเครื่องมือเครื่องใช้ในอดีต เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน พัฒนาต่อยอดสร้างสรรค์มรดกภูมิปัญญาสู่อาชีพ ได้ฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมของชุมชน
ส่วนที่ 3 โครงการเก็บเบี้ยใต้ถุนบ้านอ่านไปกินไป เป็นบ้านหนังสือชุมชน
ส่วนที่ 4 เป็นช่างตีเหล็กที่เก่าแก่ของตำบลควนชะลิก ปัจจุบันชื่อนายอภิชัยพุ่ม นุ่ม ผู้สืบสานภูมิปัญญาด้านการตีเหล็ก สามารถสั่งซื้อผ่าน facebook
ส่วนที่ 5 เป็นโครงการกลุ่มผ้าปักควนชะลิก เพื่ออนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาการปักผ้าถ่ายทอดสู่เยาวชน สร้างรายได้เสริมในครัวเรือน เป็นศูนย์เรียนรู้การเย็บปักถักร้อย มีสมาชิกประมาณ 30 คน เพื่อสืบทอดต่อกันมา เพื่อเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนผ้าเช็ดหน้า ผ้าม่านประตูหน้าต่าง ปลอกหมอนผ้าปูโต๊ะ
ช่วงการท่องเที่ยวตำบลควนชะลิก มีกิจกรรมเด่นสองช่วง คือประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม แห่ผ้าขึ้นธาตุวัดควนชะลิก ซึ่งเป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ที่ประชาชนควนชะลิกจะร่วมใจเป็นหนึ่งเดียวในการแห่ผ้าขึ้นห่อมเจดีย๋ บนยอดควนชะลิก มีที่มาดังนี้
ประวัติพระธาตุควนชะลิก ในอดีตพระบรมธาตุเมืองนครได้บูรณะเสร็จ เจ้าเมืองนครจึงได้ให้บรรดาวัดวาอารามในสมัยนั้น ได้จัดทำเครื่องเงินเครื่องทองไปถวายเป็นพุทธบูชาต่อองค์พระบรมธาตุที่วัดพระมหานครเมืองนคร วัดควนชะลิก ตั้งอยู่เชิงควนชะลิกตามหลักฐาน พบว่าก่อตั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีพระสงฆ์บวชจำพรรษาต่อกันมา มีการก่อสร้างศาสนสถานที่จำเป็น เช่น อุโบสถ วิหาร เป็นต้น เจ้าอาวาสพ่อท่านเลี่อน เจ้าอาวาสวัดควนชะลิกในขณะนั้น มีจิตศรัทธาจึงได้บอกกล่าวเชิญชวนแก่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ให้ร่วมกันบริจาคแก้วแหวนเงินทองเครื่องมือเครื่องใช้ ของต่างๆเพื่อจัดทำเป็นเครื่องบูชาพระบรมธาตุเมืองนคร ชาวบ้านทั่วไปต่างก็นำเอาแก้วแหวนเงินทองตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ ที่ทำด้วยโลหะเช่นทองคำเงินทองเหลือง ทองแดงสัมฤทธิ์มารวมกันเป็นจำนวนมาก พ่อท่านเลี่ยน ได้ติดต่อประสานช่างชาวจีน ให้เป็นผู้หลอมเครื่องเงินเครื่องทอง ที่ชาวบ้านนำมาถวายและตีเป็นแผ่นขึ้นรูปประดิษฐ์ให้เป็นต้นไม้ต้นเงินต้นทอง
ต้นไม้เงินต้นไม้ทองอย่างละต้นได้ถูกจัดสร้างขึ้นสำเร็จและได้นำไปเป็นพุทธบูชา ต่อองค์พระบรมธาตุเมืองนคร แต่ก็ยังมีเครื่องเงินเครื่องทองอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเหลือจากการหลอมสร้างเครื่องบูชา ท่านเลี่ยนเจ้าอาวาสควนชะลิก จึงให้ก่อสร้างเจดีย์ขึ้นบนยอดควนชะลิก เพื่อจะได้บรรจุเครื่องเงินเครื่องทอง ที่เหลือจากการทำต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ซึ่งการก่อสร้างเจดีย์บนยอดควนชะลิกต้องใช้แรงงานคนทั้งหมด นายน้อม อุปรมัยมย อดีตส.ส .จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มาเยี่ยมเยียนเจดีย์บนยอดเขา จึงได้นำโครงการสร้างโลหะพระพุทธบาทจำลองมาถวาย และให้บริษัทฐานไว้บนยอดควนชะลิกคู่กับเจดีย์ควนชะลิก
ต่อมาในสมัยพ่อท่าน เป็นเจ้าอาวาสวัดควนชะลิก ได้ให้สร้างบันไดจากเชิงควนชะลิกไปถึงยอดควนชะลิกเพื่อให้ผู้ที่ต้องการขึ้นไปกราบไหว้บูชาเจดีย์ และรอยพระพุทธบาท ทำให้ขึ้นลงสะดวกและปลอดภัย มากกว่าการปีนป่ายขึ้นไป
ในปีพ.ศ 2556 จึงได้จัดทำให้มีกิจกรรมแห่ผ้าห่มขึ้นธาตุ เจดีย์ บนยอดควนชะลิก โดยผู้แหกผ้าจะต้องปีนป่ายขึ้นไปห่มผ้าเจดีย์ เพื่อเป็นสิริมงคลและขอพรให้มีความสุข มีความเจริญมีทรัพย์สินเงินทอง ลดเหลือ ตามประวัติที่มาของเจดีย์ควนชะลิกช่วงเดือน เม.ย-พ.ค. ประเพณีทำขวัญข้าวการทำขวัญข้าวในชุมชนควนชะลิกและปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่อดีต ด้วยความเชื่อว่าจะส่งผลให้ข้าว ในนามีความอุดมสมบูรณ์ ต่อมาเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงวิธีทำนาจากการพึ่งพาธรรมชาติ มาเป็นการใช้เทคโนโลยี ทำให้การทำขวัญข้าวที่คลายลง ชุมชนควนชะลิก ยังคงปฏิบัติพิธีกรรมทำขวัญข้าว โดยการนำขวัญข้าวไปวัดในวันสงกรานต์ เพื่อประสงค์จะได้สมโภชน์ โดยผู้ปฏิบัติมักมีผู้เฒ่าผู้แก่ และมีแนวโน้มว่าการทำขวัญข้าวจะลดลงเป็นลำดับ ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชจริตร่วมกับองค์กรภายในชุมชนจึงได้ฟื้นฟูเพื่อศึกษาสืบสานประเพณีการทำขวัญข้าว
Comment
Rate : / 5