หมู่ที่ 11 บ้านนาทุ่งโพธิ์ ต.คลองเฉลิม อ.กงหรา ประวัติหมู่บ้านบ้านนาทุ่งโพธิ์ บ้านนาทุ่งโพธิ์ตั้งอยู่หมู่ที่ 11 ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง เดิมชื่อบ้านระหว่างคลอง ซึ่งมีคลองสายใหญ่อยู่ 2 สาย คือ คลองหวะหลังอยู่ทางทิศเหนือ และคลองใหญ่อยู่ทางทิศใต้ ประมาณกว่า 100 ปีมาแล้ว ชุมชนบ้านนาทุ่งโพธิ์เป็นดินแดนที่ราบเชิงเขา ชาวบ้านในพื้นที่มีวิถีชีวิตที่ลำบากแร้นแค้น ต้องหาซื้อข้าวจากต่างพื้นที่ โดยเฉพาะซื้อจากนาโหนด ซึ่งมีระยะทางห่างไกล มีการเดินทางลำบาก ชาวบ้านจำนวน 20 คน ได้รวมตัวกันเพื่อจะทำนาในพื้นที่ จึงได้ขุดเหมืองกลางหมู่บ้านเพื่อกักเก็บน้ำไว้ทำนา โดยกักเก็บน้ำที่ไหลมาจากน้ำตกมโนราห์ และใกล้ ๆ กับเหมืองน้ำจะมีต้นโพธิ์ใหญ่ขึ้นอยู่ จึงเป็นที่มาของชื่อ “หมู่บ้านนาทุ่งโพธิ์”ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ทำนา สวนผลไม้ ค้าขาย และอาชีพ รับจ้างทั่วไป ซึ่งปัจจุบันเป็นชุมชนมุสลิม ที่ประกอบอาชีพทำนา ซึ่งมีคลองหวะหลังอยู่ทางทิศเหนือของ หมู่บ้าน และคลองใหญ่อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน ชาวบ้านมีวิถีชีวิตที่สงบ เรียบง่าย และอยู่ร่วมกันฉันพี่น้อง เขาเจ็ดยอด อยู่บนเทือกเขาบรรทัด เป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ เป็นแหล่งกำเนิด ของต้นน้ำลำธารที่มีความสำคัญหลายสาย ไหลลงสู่พื้นที่ราบในจังหวัดพัทลุง ตรัง สตูล และจังหวัดสงขลา ปัจจุบันผืนป่าแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและ ต่างประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่กว้างบนสันเขาที่มียอดเขาสูงไล่เลี่ยกัน 7 ยอดจนเป็นที่มาของชื่อ “เขาเจ็ดยอด” เป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นได้ทั้งทางฝั่งทะเลอันดามัน และฝั่งทะเลอ่าวไทย สภาพอากาศโดยทั่วไปจะมีความหนาวเย็นตลอดทั้งปี เนื่องจากบริเวณโดยรอบถูกปกคลุมด้วยต้นไม้แคระสลับกับทุ่งหญ้ากว้าง เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย น้ำตกมโนราห์ มีตำนานในสมัยก่อนที่คนเฒ่าคนแก่ได้เล่าขานถึงที่มาของน้ำตกแห่งนี้ว่า เป็นที่ที่นาง มโนราห์ลงเล่นน้ำ แล้วบังเอิญมีวังหนึ่งชื่อวังกำไล ซึ่งในวังนั้นมีกำไลของนางมโนราห์ตกอยู่ประมาณ 3 วง ขนาดเท่ากับล้อรถ จึงได้สันนิษฐานว่าเป็นกำไลของนางมโนราห์ที่ตกอยู่ หลังจากนั้นได้มีการพัฒนาน้ำตก มโนราห์ จึงได้ร่วมกันคิดชื่อที่เหมาะสม และสอดคล้องกับตำนานเลยเป็นที่มาของชื่อ “น้ำตกมโนราห์” จนถึง ปัจจุบัน “น้ำตกมโนราห์” เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของอำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง เป็นน้ำตก ขนาดกลางที่มีความอุดมสมบูรณ์ถือว่าเหมาะอย่างยิ่งในการพักผ่อน และลงเล่นน้ำ เป็นน้ำตกที่มีน้ำใสสะอาด สายน้ำไหลแรงลงสู่ลำธาร อีกทั้งยังมีสไลเดอร์ไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ลงเล่น ท่ามกลางบรรยากาศที่โอบล้อมไปด้วยความร่มรื่นของต้นไม้เขียวขจีที่มีอยู่รอบน้ำตก ซึ่งบริเวณน้ำตกประกอบไปด้วยโขดหิน เกาะแก่งเป็นระยะทางยาว บริเวณน้ำตกยังมีสะพานแขวนไว้คอยให้นักท่องเที่ยวได้เดินชมกันอีกด้วย น้ำตกมโนราห์ มีตำนานในสมัยก่อนที่คนเฒ่าคนแก่ได้เล่าขานถึงที่มาของน้ำตกแห่งนี้ว่า เป็นที่ที่นาง มโนราห์ลงเล่นน้ำ แล้วบังเอิญมีวังหนึ่งชื่อวังกำไล ซึ่งในวังนั้นมีกำไลของนางมโนราห์ตกอยู่ประมาณ 3 วง ขนาดเท่ากับล้อรถ จึงได้สันนิษฐานว่าเป็นกำไลของนางมโนราห์ที่ตกอยู่ หลังจากนั้นได้มีการพัฒนาน้ำตก มโนราห์ จึงได้ร่วมกันคิดชื่อที่เหมาะสม และสอดคล้องกับตำนานเลยเป็นที่มาของชื่อ “น้ำตกมโนราห์” จนถึง ปัจจุบัน “น้ำตกมโนราห์” เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของอำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง เป็นน้ำตก ขนาดกลางที่มีความอุดมสมบูรณ์ถือว่าเหมาะอย่างยิ่งในการพักผ่อน และลงเล่นน้ำ เป็นน้ำตกที่มีน้ำใสสะอาด สายน้ำไหลแรงลงสู่ลำธาร อีกทั้งยังมีสไลเดอร์ไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ลงเล่น ท่ามกลางบรรยากาศที่โอบล้อมไปด้วยความร่มรื่นของต้นไม้เขียวขจีที่มีอยู่รอบน้ำตก ซึ่งบริเวณน้ำตกประกอบไปด้วยโขดหิน เกาะแก่งเป็นระยะทางยาว บริเวณน้ำตกยังมีสะพานแขวนไว้คอยให้นักท่องเที่ยวได้เดินชมกันอีกด้วย อ่างเก็บน้ำบ้านโคกไทรตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง เป็นโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านโคกไทร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือราษฎร หมู่ที่ 1 บ้านโคกไทร ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคอย่างเพียงพอ และทั่วถึง ซึ่งมีสภาพพื้นที่บริเวณเป็นที่ราบ ลุ่มเชิงเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนาสลับสวนยางพารา มีแหล่งน้ำไหลผ่าน คือ คลองห้วยกลาง สภาพต้นน้ำจึงเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ ส่วนลำน้ำคลองห้วยกลาง เป็นลำน้ำขนาดเล็กกว้างประมาณ 1.50 เมตร ลึกประมาณ 0.50 เมตร มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาบรรทัด ไหลจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ลงสู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไหลผ่านบ้านโคกไทร และพื้นที่นา แล้วไหลไปรวมกับคลองห้วยนาเหรน และไหลลงสู่ลำน้ำคลองนาบอน ตามลำดับ ความยาวของลำน้ำถึงจุดที่ตั้งหัวงานยาวประมาณ 1.0 กิโลเมตร สามารถส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่นา ปีนระหว่างฝนทิ้งช่วงได้จำนวน 500 ไร่ และส่งน้ำอุปโภค บริโภคให้แก่ราษฎรตำบลคลองเฉลิมได้จำนวน 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 8 ราษฎรจำนวน 130 ครัวเรือน ประชากรประมาณ 1,000 คน ให้ได้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี
Comment
Rate : / 5